การประยุกต์ใชเทคโนโลยีอาร์เอ็นเออินเตอร์เฟอเรนซ์เพื่อควบคุมแอนแทรคโนสในพริก
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Wararat Sriprapat, Jiraporn Jirakakul, Warakorn Ruankaew, Paranee Sawangsri
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
หน้าแรก: 941
หน้าสุดท้าย: 948
จำนวนหน้า: 8
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
แอนแทรคโนสในพริกเป็นโรคที่สำคัญ เนื่องจากก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตพริกต่อพื้นที่ลดลงและผลผลิตพริกที่เก็บเกี่ยวได้เน่าเสียจึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการส่งพริกไปจำหน่ายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ งานวิจัยนี้จึงไดประยุกต์ใชเทคโนโลยีอารเอ็นเออินเตอร์เฟอเรนซ์ (RNAi) เพื่อช่วยควบคุมโรคแอนแทรคโนสในพริกโดยทำการออกแบบและสังเคราะห์อาร์เอ็นเอสายคู่(dsRNA) ให้มีโครงสร้างเป็นรูปห่วงด้วยเทคนิค In vitro transcription จากยีน Ceramide glucosyltransferase ของรา Colletotrichum gloeosporioides พบว่าdsRNA มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดโรค โดย dsRNA ที่ระดับความเข้มข้นต่างกันมีผลทำให้การเจริญของราบนผลพริกต่างกันโดย dsRNA-Cg 1,000 ng/µl สามารถยับยั้งการเกิดโรคแอนแทรคโนสได้ดีที่สุดซึ่งมีดัชนีการเกิดโรค (%DI) เท่ากับ14.44% ในขณะที่เมื่อทดสอบด้วย dsRNA-Cg 500 ng/µl และ dsRNA-Cg 300 ng/µl พริกจะมีดัชนีการเกิดโรคเท่ากับ 28.89% และ 38.89% ตามลำดับโดยเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนีราบริเวณแผลของพริกที่ควบคุมโรคด้วย dsRNA กับพริกชุดควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แสดงถึงประสิทธิภาพของ dsRNA ในการลดระดับความรุนแรงของโรคในพริก
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง