ผลกระทบเนื่องจากแผ่นดินไหวต่อโครงสร้างชั่วคราวระหว่างการก่อสร้างสะพานที่มีความสูงของเสาแตกต่างกัน
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Kriangkrai Suphrom and Ekkachai Yooprasertchai
ผู้เผยแพร่: the Faculty of Engineering King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang.
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
ชื่อย่อของวารสาร: ETH
Volume number: 40
Issue number: 3
หน้าแรก: 400308
นอก: 2985-1688
URL: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/lej/article/view/252408/171364
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
บทความ นี้นําเสนอผล การศึกษาผลกระทบเนื่องจากแผ่นดินไหวต่อโครงสร้างชั่วคราวระหว่างการก่อสร้างสะพานที่มีความสูงของเสาแตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโครงสร้างชั่วคราวที่เรียกว่า Launching Gantry และโครงสร้างสะพานโดยเน้นให้ความสําคัญกับโครงสร้างชั่วครา วเป็นหลักที่ใช้ในการก่อสร้างสะพานที่มีช่วงความยาว 45 เมตร สูง 7, 19 และ 28 เมตร โดย พิจารณาขั้นตอนการก่อสร้างที่สนใจแบ่งออก เป็นสี่กรณีได้แก่ กรณีของสะพานช่วงเดียว, กรณีเลื่อน Launching Gantry เพื่อติดตั้งความยาวช่วงถัดไป, กรณียังไม่แขวนคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องกลวง และกรณีแขวนคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องกลวง งานวิจัยนี้ทําการศึกษาโดยการสร้างแบบจําลอง 12 แบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ midas Civil เพื่อทําการวิเคราะห์โครงสร้างแบบประวัติเวลาไม่เชิงเส้นภายใต้ความเร่งเนื่องจากคลื่นแผ่นดินไหวในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ระดับความรุนแรงที่ มีคาบการเกิดซํ้า 39 ปี เพื่อหาแรงภายในและการเสียรูปที่เกิดขึ้น โดยทําการตรวจสอบความเสียหายด้วยการเปรียบเทียบแรงที่เกิดขึ้นต่อกําลังต้านทานตามมาตรฐาน Eurocode ได้ผลสรุปว่าโครงสร้างสะพานไม่เกิดความเสียหายและมีการเสียรูปค่อนข้างน้อย ส่วนโครงสร้างชั่วคราวพบว่าเกิดความเสียหายอย่างมากในบริเวณขาของ Supports โดยเฉพาะ Front Support ที่มีผลรวมของโมเมนต์ดัดและแรงตามแนวแกนเกินกว่ากําลังต้าน 1.53 เท่า และมีการเสียรูปในทิศทางตามขวางของสะพานมากถึง 71 มิลลิเมตรซึ่งคิดเป็น 1/77 เท่าของความสูง
คำสำคัญ
Earthquake engineering