ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสของสารสกัดสมุนไพรตามภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มบำรุงเลือดและบำรุงกำลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPremsak Puangploy, Tananya Phansuwan, Ketinun Kittipongpittaya, Songkran Chirabut, Kornwipa Wongchai, Wimalin Jai-ouea, Watanya Buttama, Sasipreya Thiwaphut, Nakorn Niamnont

ผู้เผยแพร่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

Volume number34

Issue number3

หน้าแรก243-1855

นอก2985-2080

eISSN2985-2145

URLhttps://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/kjournal/article/view/5592

ภาษาThai (TH)


ดูบนเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้น ปริมาณฟีนอลิกรวม ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสของสารสกัดสมุนไพรตามภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มบำรุงเลือดและบำรุงร่างกายจำนวน 10 ชนิดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้แก่ แซ่ม้าทะลาย (Erycibe paniculata Roxb) ม่วยเลือด (Gnetum macrostachyum. Hook. f.) สามสิบสองประดง (Bauhinia sirindhorniae K. Larsen & S. S. Larsen) กำลังเลือดม้า (Knema angustifolia Roxb Warb.) รางแดง (Ventilago denticulata Willd.) เอนอ้า (Melastoma malabathricum L.) กำลังเสือโคร่ง (Strychnos axillaris Colebr.) ฝาง (Caesalpinia sappan L.) ช้างน้าว (Ochna integerrima Lour Merr.) และหินระเบิด (Osyris sp.) ผลการทดสอบสารพฤกษเคมีเบื้องต้นจากสารสกัดหยาบเอทานอลของสมุนไพรพบว่า สมุนไพรส่วนใหญ่จะมีสารพฤกษเคมีกลุ่มฟลาโวนอยด์และเทอร์พีนอยด์ และพบกลุ่มอัลคาลอยด์ แอนทราควิโนน คูมาริน ซาโปนิน และแทนนินในสมุนไพรเพียงไม่กี่ชนิด แต่ไม่พบกลุ่มสเตอรอยด์และคาร์ดิแอคไกลโคไซด์ เมื่อนำสารสกัดเอทานอลของลำต้นรางแดง สามสิบสองประดง ฝาง และหินระเบิด มาทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีดีพีพีเอชพบว่า มีค่าสูงในช่วง 147.03 ± 2.72, 127.30 ± 0.99, 104.94 ± 3.84 และ 73.72 ± 1.46 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแอสคอร์บิกต่อกรัมตัวอย่าง ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณฟีนอลิกรวมซึ่งตรวจพบในปริมาณที่สูงเช่นกัน นอกจากนี้สารสกัดหยาบเอทานอลของสมุนไพรจำนวน 9 ชนิด (ยกเว้นแซ่ม้าทะลาย) ยังแสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสที่ดีกว่าสารมาตรฐานอะคาร์โบส โดยผลการทดลองที่ได้มีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ดังนั้นสมุนไพรตามภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มบำรุงเลือดและบำรุงร่างกายจึงเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี และสามารถพัฒนาเป็นอาหารหรือยาที่สามารถป้องกันโรคเบาหวานได้ต่อไป


คำสำคัญ

antioxidant activity


อัพเดทล่าสุด 2024-05-02 ถึง 23:05