ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนครมัณฑะเลย์ และทางเลือกในการลดก๊าซเรือนกระจก
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Htet Thiri, Awassada Phongphiphat, Sirintornthep Towprayoon and Soydoa Vinitnantharat
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
Volume number: 42
Issue number: 6
หน้าแรก: 235
หน้าสุดท้าย: 252
จำนวนหน้า: 18
นอก: 1686-9664
eISSN: 2586-9795
URL: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/255921
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้ ศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบของขยะมูลฝอยชุมชน ศักยภาพทางด้านพลังงาน และผลคาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะทั้งในปัจจุบันและภาพฉายในอนาคต ของเมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์การสุ่มตัวอย่างขยะดำเนินการในเดือนมีนาคม ปี 2562 ที่สถานีรวบรวมและขนส่งขยะ 2 แห่งของเมือง พบว่า ขยะจากสวนมีปริมาณร้อยละ 45.4 ของน้ำหนักขยะเปียก ในขณะที่ขยะพลาสติก ขยะอาหาร และขยะสิ่งทอคิดเป็นร้อยละ 15.4, 14.4 และ11.0 ตามลำดับ ที่เหลือ (ร้อยละ 13.7) ประกอบด้วยเศษไม้ ยาง หนัง กระดาษ ผ้าอ้อม โลหะ และแก้ว ความชื้นของตัวอย่างขยะมีค่าร้อยละ 43.2 ด้วยข้อมูลองค์ประกอบขยะดังกล่าว ศักยภาพทางด้านพลังงานจากขยะมูลฝอยของเมืองมีค่าประมาณ 2,357 เทระจูลล์ เทียบเท่าศักยภาพการผลิตไฟฟ้า 5.2-10.3 เมกะวัตต์ ภายใต้สมมติฐานที่กำหนดให้โรงไฟฟ้าขยะมูลฝอยมีประสิทธิภาพ10-20% และเดินระบบ 300 วันต่อปี การประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะด้วยวิธีการตาม 2006 IPCC guidelines for national GHG inventories พบว่ามีค่าเท่ากับ 94 Gg CO2-eq ในปี 2562 ปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยในอนาคตจนถึงปี 2573 คาดการณ์โดยการใช้ univariate Grey model (GM (1,1) ) ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้การดำเนินธุรกิจ ตามปกติ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง 820 Gg CO2-eq ในปี 2573 งานวิจัยนี้ได้นำเสนอทางเลือกในการจัดการขยะมูลฝอย 2 ภาพฉายที่จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ โดยภาพฉายที่ 1 คือกรณีที่ประสิทธิภาพการเก็บขยะ และการนำกลับมาใช้ใหม่ดียิ่งขึ้น มีการใช้งานระบบหมักปุ๋ย และระบบหมักก๊าซชีวภาพ และภาพฉายที่ 2 คือกรณี ที่มีการนำวัสดุและพลังงานจากขยะกลับมาใช้ประโยชน์เพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่ การหมักปุ๋ย และหมักก๊าซชีวภาพ และการผลิตพลังงานด้วยโรงไฟฟ้าเตาเผาขยะ รวมถึงการเปลี่ยนหลุมฝังกลบทั้งหมดให้เป็นหลุมฝังกลบแบบกึ่งใช้อากาศ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ในปี 2573 แนวทางที่ 1 และแนวทางที่ 2 สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 6% และ 55% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกรณีการดำเนินธุรกิจตามปกติ
คำสำคัญ
Energy potential, greenhouse gas emission, Mandalay city, MSW generation forecasting, waste composition