ประสิทธิภาพการดูดซับด้วยถ่านชีวภาพยูคาลิปตัสแบบยึดติดคอลัมน์เพื่อกำจัดแมงกานีสในน้ำบาดาล

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งArachporn Wilamas, Soydoa Vinitnantharat and Anawat Pinisakul

ผู้เผยแพร่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

Volume number42

Issue number5

หน้าแรก178

หน้าสุดท้าย186

จำนวนหน้า9

นอก2985-2617

eISSN2985-2625

URLhttps://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/256628/177118

ภาษาEnglish-United States (EN-US)


บทคัดย่อ

การกำจัดแมงกานีสในน้ำใต้ดินปนเปื้อนด้วยระบบการกรองเป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
ประสิทธิภาพของคอลัมน์แบบยึดติดกับที่ ที่ใช้ถ่านชีวภาพยูคาลิปตัสและถ่านชีวภาพยูคาลิปตัสที่ปรับปรุงพื้นผิวด้วยด่างทับทิมเป็นสารกรองในการกำจัดแมงกานีสจากน้ำใต้ดินที่ความเข้มข้น 0.723 +- 0.002 มก./ลิตร โดยป้อนน้ำเข้าสู่ด้านบนของคอลัมน์กรองระดับห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องอัตราการไหล 5 ลิตร/วัน เก็บตัวอย่างน้ำที่เวลาต่างๆ จนครบ 24 ชั่วโมง ใช้แบบจำลองโธมัสและยุน-เนลสัน เพื่ออธิบายความสามารถในการดูดซับแมงกานีส ผลการศึกษาพบว่าถ่านชีวภาพยูคาลิปตัสมีความสามารถในการดูดซับเท่ากับ 1.812 มก./กรัม สูงกว่าถ่านชีวภาพยูคาลิปตัสที่ปรับปรุงพื้นผิวเนื่องจากมีค่าไอโอดีนนัมเบอร์สูงกว่าโดยความสามารถในการดูดซับเท่ากับ 0.769 มก./กรัม และเวลาดูดซับที่ร้อยละ 50 ของเบรคทรูของถ่านชีวภาพยูคาลิปตัสและถ่านชีวภาพ ยูคาลิปตัสที่ปรับปรุงพื้นผิวมีค่าเท่ากับ 1,020 และ 240 นาที ตามลำดับ มีความสอดคล้องกับแบบจำลองของยุน - เนลสัน การใช้ EB และ MEB เป็นวัสดุกรองจากท้องถิ่นสามารถลดต้นทุนการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้กับชุมชนได้


คำสำคัญ

groundwaterManganese


อัพเดทล่าสุด 2024-09-02 ถึง 23:05