ผลของอุณหภูมิต่อรูปร่างสัณฐานและโครงสร้างผลึกของเกล็ดปลากะพงขาว

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งSurapong Natprasom, Surapat Pansumrong, Kriangkrai Wantong, Patcharin Naemchanthara, Weeranut Kaewwiset and Kittisakchai Neamchanthara

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

หน้าแรกA207

หน้าสุดท้ายA216


บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษาลักษณะเฉพาะของเกล็ดปลากะพงขาวก่อนและหลังให้ความร้อน โดยนำเกล็ดปลากะพงขาวล้างด้วยน้ำหลายครั้งเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อและสิ่งสกปรก ต่อมานำเกล็ดปลากะพงขาวต้มในน้ำที่อุณหภูมิ 200 ˚C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำและตากให้แห้ง จากนั้นนำเกล็ดปลากะพงขาวบดด้วยครกอาเกตจนเป็นผง และศึกษาการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของผงเกล็ดปลากะพงขาวด้วยการวิเคราะห์สมบัติทางความร้อน (TGA) จากผลพบว่าความชื้นและสารประกอบอินทรีย์บางชนิดสลายตัวที่อุณหภูมิประมาณ 300˚C ในขณะที่เจลาตินและสารประกอบอินทรีย์สลายตัวที่อุณหภูมิประมาณ 600˚C สำหรับที่อุณหภูมิ 900˚C นั้น น้ำและสารประกอบอินทรีย์บางส่วนในโครงสร้างผลึกจะสลายตัว จากผลของ TGA แสดงให้เห็นว่าที่อุณหภูมิ 300, 600, 900 และ 1,200˚C ถูกใช้เพื่อเผาเกล็ดปลากะพงขาว จากนั้นโครงสร้างผลึก หมู่ฟังก์ชัน และรูปร่างสัณฐานของผงเกล็ดปลากะพงขาวก่อนและหลังการเผาศึกษาด้วยเครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (XRD) เครื่องวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันของสารด้วยอินฟราเรด (FTIR) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ตามลำดับ จากผลพบว่าโครงสร้างผลึกของเกล็ดปลากะพงขาวก่อนเผามีเฟสไฮดรอกซีอะพาไทต์เป็นแบบอสัณฐานสำหรับที่อุณหภูมิ 900 ˚C นั้น โครงสร้างผลึกของเกล็ดปลากะพงขาวมีเฟสไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่บริสุทธิ์สูง นอกจากนี้ความเป็นผลึกของไฮดรอกซีอะพาไทต์เพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิการเผาที่สูงขึ้น จากผลดังกล่าวสามารถยืนยันด้วยผล FTIR และ SEM งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเกล็ดปลากะพงขาวจากการแปรรูปอาหารสามารถใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่มีความบริสุทธิ์ได้


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-16-02 ถึง 23:05