การประยุกต์ใช้คอนกรีตสำหรับการกำจัดคอปเปอร์ซัลเฟตในน้ำเสีย
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Surapong Natprasom, Nattamon Thavarangsi, Sirikorn Pongtornkulpanich, Weeranut Kaewwiset, Saengkrit Klunboot, Patcharin Naemchanthara and Kittisakchai Naemchanthara
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
หน้าแรก: A217
หน้าสุดท้าย: A227
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้เพื่อกำจัดคอปเปอร์ซัลเฟตที่เป็นโลหะหนักในน้ำเสียด้วยคอนกรีต โดยตัวดูดซับคอนกรีตจะทำ จากคอนกรีตสำเร็จรูปเชิงพาณิชย์แล้วทำการขึ้นรูปเป็นเม็ดทรงกระบอกขนาดเล็กและใหญ่ ซึ่งคอนกรีตสำเร็จรูปก้อนขึ้นรูป จะถูกนำไปศึกษาโครงสร้างผลึกด้วยเครื่องเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (XRD) จากผลแสดงให้เห็นว่าคอนกรีตสำเร็จรูปประกอบไปด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต ซิลิกอนไดออกไซต์ และอะลูมิเนียมออกซ์ จากนั้นทำการเตรียมสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตที่ความ เข้มข้นแตกต่างกันตั้งแต่ 0.1 ถึง 1.0 g/l และวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่องวัดการดูดกลืนแสง ซึ่งค่าการดูดกลืนแสงและ ความเข้มข้นของสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตดังกล่าวจะถูกนำไปเขียนเป็นกราฟมาตรฐาน ต่อมานำเม็ดคอนกรีตไปกรองผ่าน สารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตที่ความเข้มข้น 1.0 g/l เป็นระยะเวลา 120 นาที เพื่อทำการทดสอบการดูดซับโลหะ จากนั้นทำการปรับเปลี่ยนปริมาณเม็ดคอนกรีตขนาดเล็กและใหญ่เป็น 10, 20, 30 และ 40 g สำหรับศึกษาความสามารถในการดูดซับ คอปเปอร์ซัลเฟต โดยหลังการทดสอบสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตนั้นจะถูกวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่องวัดการดูดกลืนแสง เพื่อคำนวณค่าความเข้มข้นของคอปเปอร์ซัลเฟตที่เหลือในน้ำเสียและประสิทธิภาพการดูดซับ จากผลแสดงให้เห็นว่าความ เข้มข้นของคอปเปอร์ซัลเฟตจะลดลงเมื่อทำการเพิ่มปริมาณเม็ดคอนกรีตมากขึ้น โดยเม็ดคอนกรีตขนาดเล็กจะมีประสิทธิภาพ การดูดซับคอปเปอร์ซัลเฟตมากกว่าเม็ดคอนกรีตขนาดใหญ่ งานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้คอนกรีตเป็น ตัวดูดซับโลหะหนักในน้ำเสียได้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง