การวิเคราะห์การกัดกร่อนของท่อไอดงในโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิง
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Napachat Tareelap, Nawarat Worauaychai and Jirasak Tharajak
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
ชื่อย่อของวารสาร: JADES
Volume number: 13
Issue number: 38
หน้าแรก: 61
หน้าสุดท้าย: 75
จำนวนหน้า: 15
นอก: 2985-1637
URL: https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/pitjournal/article/view/599/1086
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์การกัดกร่อนของท่อไอดงในโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิง โดยวัสดุที่ใช้ศึกษาเป็นเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำเกรด STBA12 ผลการทดลองพบว่า ในฟาวลิ่งที่สะสมอยู่บนผิวท่อประกอบด้วยโพแทสเซียมซัลเฟต (K2SO4) โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) และสารประกอบยูเทคติกที่มีจุดหลอมเหลวต่ำเช่น KCl-K2SO4 เมื่อท่อมีการใช้งานในช่วงอุณหภูมิ 510-780 องศาเซลเซียส สารประกอบเกลือยูเทคติกเกิดการหลอมเหลว ซึ่งเกลือเหลวนี้เป็นสารตั้งต้นที่สามารถกัดกร่อนท่อไอดงที่ทำมาจากเหล็กได้ จากการตรวจสอบภาคตัดขวางพบการกัดกร่อนที่เกิดจากการออกซิเดชันที่อุณหภูมิสูง(ชั้นออกไซด์) ที่ทำให้โลหะบางลงแบบสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการกัดกร่อนทั่วไปที่พบเมื่อมีการใช้งานโลหะที่อุณหภูมิสูง นอกจากนี้ยังพบการกัดกร่อนแบบเฉพาะที่ได้แก่ การกัดกร่อนจากกำมะถัน (S-attack) และการกัดกร่อนจากคลอรีน (Cl-attack) ที่เกิดจากเกลือเหลวและผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาซัลเฟชัน โดยการกัดกร่อนจากกำมะถันมีลักษณะเป็นปลายแหลมเข้าไปในโลหะตามขอบเกรนลึกประมาณ 5-10 ไมครอน ในขณะที่การกัดกร่อนจากคลอรีนมีเกิดตามขอบเกรนเช่นกัน แต่มีความลึกประมาณ 20-50 ไมครอน โดยแหล่งของคลอรีนมาจากเกลือเหลวและผลิตภัณฑ์ที่มาจากปฏิกิริยาซัลเฟชันได้แก่ ก๊าซคลอรีน(Cl2) และไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl)
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง