การศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสีย้อมโดยใช้ตัวดูดซับกราฟีนออกไซด์ชานอ้อย
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Punyawee Juengchareonpoon, Kiattinatapon Juengchareonpoon, Waritha Jantaporn and Piyabutr Wanichpongpan
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
หน้าแรก: B221
หน้าสุดท้าย: B234
URL: https://rd.surin.rmuti.ac.th/rsnc2023/
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
สีย้อมเมทิลีนบลูถือว่าเป็นสีโมเลกุลใหญ่ยากต่อการกำจัด หากน้ำที่ปนเปื้อนสีย้อมไม่ได้รับการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แหล่ง น้ำ ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ ่งแวดล้อม งานวิจัยนี ้ได้พัฒนาตัวดูดซับกราฟีนออกไซด์ชานอ้อยโดยใช้กลูตาราลดีไฮด์เป็นตัวเชื ่อม ขวาง สำหรับการดูดซับสารละลายเมทิลีนบลูในน้ำ การศึกษาลักษณะเฉพาะของตัวดูดซับผ่าน Fourier transform infrared spectroscopy (FTIR) และ X-ray diffraction (XRD) ศึกษาหาความเข้มข้นของตัวเชื ่อมขวางและปริมาณกราฟีนออกไซด์ที่ เหมาะสมในการสังเคราะห์ตัวดูดซับ และการศึกษาพฤติกรรมของการดูดซับผ่านผลของระยะเวลา ความเข้มข้นเริ่มต้น และ pH เริ ่มต้นของสารละลาย ผลการทดลองพบว่าการดูดซับจะเข้าสู ่สมดุลที ่เวลา 60 นาที ความสามารถในการดูดซับมีค่ามาก เมื่อสารละลายเมทิลีนบลูมี pH เพิ่มขึ้น สำหรับกลไกของการดูดซับเป็นแบบ Pseudo-second-order kinetic และไอโซเทอม ของตัวดูดซับกราฟีนออกไซด์ชานอ้อยที่เตรียมจากกลูตาราลดีไฮด์ จะอธิบายได้ดีในโมเดลของแลงเมียร์ ซึ่งได้ค่าความสามารถ ของการดูดซับสารละลายเมทิลีนบลูสูงสุดเท่ากับ 181.85 มิลลิกรัมต่อกรัม สุดท้ายนี้ตัวดูดซับกราฟีนออกไซด์ชานอ้อยสามารถ นำกลับมาใช้ใหม่ได้
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง