การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรและอิทธิพลของความผูกพันองค์กรต่อประสิทธิผลการทำงาน กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจในประเทศไทย
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Wethaya Faijaidee, Sookyuen Tlepthong and Watcharapoj Sapsanguanboon
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
Volume number: 17
Issue number: 27
หน้าแรก: 71
หน้าสุดท้าย: 87
จำนวนหน้า: 17
นอก: 1906-0254
eISSN: 2985-2277
URL: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/260735/182453
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมความผูกพันองค์กร มีอิทธิพล ต่อความผูกพันองค์กร
และ 2) วิเคราะห์ อิทธิพลของ ปัจจัยความผูกพันองค์กรส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากร รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 525 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมความผูกพันองค์กรด้าน ภาพลักษณ์องค์กร ผู้บังคับบัญชา และ ความร่วมมือส่งผลต่อความผูกพันองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และยัง พบว่า ปัจจัยความผูกพันองค์กรทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพูดถึงองค์กรในทางที่ดี (Say) 2) ด้านการคงอยู่เป็นพนักงาน (Stay) และ 3) ด้านการทำงานอย่างเต็มความสามารถ (Strive) มีอิทธิพล ต่อประสิทธิผลการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง