การศึกษาความตระหนักในสถานการณ์การพัฒนาทรัพยากรทางวัฒนธรรมและปัจจัยในการขับเคลื่อนระบบนิเวศการเรียนรู้ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม Satun UNESCO Global Geopark
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Pronyos Chattarakul, Karuna Kleubmongkol,and Nutthapon Wongyao
ผู้เผยแพร่: กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
Volume number: 7
Issue number: 3
หน้าแรก: 120
หน้าสุดท้าย: 134
จำนวนหน้า: 15
eISSN: 2985-0266
URL: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270503/175761
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์การพัฒนาทรัพยากรทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ และปัจจัยขับเคลื่อนระบบนิเวศการเรียนรู้ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ Satun UNESCO Global Geopark โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มขับเคลื่อนนโยบาย จำนวน 6 กลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวจำนวน 7 กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจและสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และ Co-Creation Workshop และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเครื่องมือ Design Thinking และ Case Development กับผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่อย่างเป็นระบบ ผสานการทำ Scenario Development โดยมีผลการวิจัยคือ แบบจำลองสถานการณ์บทบาทของทรัพยากรทางวัฒนธรรมในการพัฒนานิเวศการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์งานวิจัย และปัจจัยในการขับเคลื่อนระบบนิเวศการเรียนรู้ คือ 1) เนื้อหาด้านวัฒนธรรม 2) รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ รวมถึงนำเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์งานวิจัยใน 3 ระดับ คือ 1) แนวทางคัดกรองทรัพยากรทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บริการนักท่องเที่ยว 2) การพัฒนา Theme ท่องเที่ยวของพื้นที่ Satun UNESCO Global Geopark เพื่อการสร้างโอกาสทางธุรกิจการท่องเที่ยวแบบกลุ่ม และ 3) แนวนโยบายการพัฒนาพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบต่าง ๆ ซึ่งผลลัพธ์ของงานวิจัยสามารถสร้างความตระหนักอย่างมากกับผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาทรัพยากรทางวัฒนธรรมในการขับเคลื่อน Satun UNESCO Global Geopark Learning Ecology นอกเหนือจากการพึ่งพาทรัพยากรทางธรณีวิทยาเพียงอย่างเดียว
คำสำคัญ
Satun UNESCO Global Geopark, Learning Ecology, Cultural Tourism