การศึกษาสมบัติเชิงกลและสัณฐานวิทยาของพอลิโพรพิลีนที่ผสมผงยางอีพีดีเอ็มจากซีลประตูรถยนต์

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งSirinthorn Thongsang, Nattarat Kengkla, Nuntinee Boonjan and Kamonthip Tiraditsakul

ผู้เผยแพร่สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

ชื่อย่อของวารสารRMUTI Journal

Volume number17

Issue number1

หน้าแรก60

หน้าสุดท้าย71

จำนวนหน้า12

นอก2672-9369

eISSN3027-6756

URLhttps://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rmutijo/issue/view/17419/4284


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาสมบัติเชิงกลและสัณฐานวิทยาของพอลิโพรพิลีนที่ผสมผงยางอีพีดีเอ็มจากชีลประตูรถยนต์ ซึ่งผงยางอีพีดีเอ็มทำการเตรียมทั้งแบบไม่ดีวัลคาไนช้และดีวัลคาไนซ์ด้วยวิธีการใช้ความร้อนร่วมกับแรงทางกล โดยศึกษาการดีวัลคาไนซ์ยางอีพีดีเอ็มในขั้นตอนการบดด้วยเครื่องบดแบบสองลูกกลิ้งที่อุณหภูมิ 220 และ 230 oC ความเร็วรอบลูกกลิ้ง 40 รอบต่อนาที เป็นเวลา 25 นาที จากนั้นบดต่อในเครื่องผสมภายในที่อุณหภูมิ 200 oC ความเร็วรอบโรตอร์ 140 รอบต่อนาที เป็นเวลา 10 นาที แล้วนำไปตรวจสอบความสามารถในการดีวัลคาไนซ์ของยางจากวิธีการสกัดด้วยชอกเลต เพื่อเลือกอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยนำผงยางอีพีดีเอ็มทั้งสองแบบผสมลงในพอลิโพรพิลีนที่อัตราส่วน 0/100 10/90 20/80 30/70 และ 40/60 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ด้วยเครื่องผสมภายในแล้วขึ้นรูปแผ่นจากเครื่องอัคร้อน และนำไปทดสอบสมบัติการรับแรงดึงและแรงกระแทก รวมถึงตรวจสอบลักษณะทางสัฐานวิทยาพบว่า การดีวัลคาไนช้ในขั้นตอนการบดด้วยเครื่องบดแบบสองลูกกลิ้งที่อุณทภูมิ 230 oC มีเปอร์เซ็นต์ของยางส่วนที่ละลายสูงกว่าที่อุณหภูมิ 220 oC ซึ่งแสดงถึงสามารถในการดีวัลคาไนซี ดีกว่า  โดยพอลิโพรพีลีนที่ผสมยางอีพีดีเอ็มทั้งสองแบบในปริมาณที่มากขึ้นส่งผลให้ค่ายังมอดุลัสลดลง แต่ความยืดสูงสุด ณ จุดขาด และความทนแรงกระแทกเพิ่มสูงขึ้น ส่วนความต้านแรงดึงเริ่มมีแนวโน้มลดลงเมื่อผสมผงยางอีพีดีเอ็ม


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-06 ถึง 00:00