การสื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์; จากพิมพ์ดีด สัมผัสจอ และสั่งงานด้วยเสียง ไปสู่ กริยาท่าทาง
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Kosin Chamnongthai
ผู้เผยแพร่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
Volume number: 33
Issue number: 4
นอก: 2985-2080
eISSN: 2985-2145
URL: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/254692
บทคัดย่อ
มนุษย์สามารถออกเสียงที่ซับซ้อน พูดคุยด้วยภาษาต่างๆ ทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันได้ ซึ่งต่างจากสัตว์ที่ไม่สามารถพูดคุยและแสดงความรู้สึกอย่างละเอียดอ่อนและซับซ้อนได้ เสียงมนุษย์ซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณที่ประกอบด้วยสารสนเทศสามารถส่งจากคนหนึ่งไปยังคนอื่นในระยะใกล้ได้ สัญญาณเหล่านี้อยู่ในย่านความถี่ต่ำ มีพลังงานน้อย ไม่สามารถส่งผ่านตัวกลางที่เป็นบรรยากาศของโลกแล้วสะท้อนไปที่ไกลๆ ได้ ต่อมามนุษย์มีความจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันในระยะที่ไกลขึ้น จึงเกิดความต้องการเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารทางไกล การสื่อสารทางไกลที่เรียกว่า โทรคมนาคมได้เริ่มขึ้นราวปลายศตวรรษที่ 19 โดยการนำสัญญาณที่อยู่ในย่านความถี่สูงที่สามารถส่งผ่านบรรยากาศไปในระยะไกลมาเป็นสัญญาณพาห์ (Carrier) เพื่อเป็นพาหะส่งสารสนเทศไปที่ไกลๆ ในเวลานั้นมนุษย์คิดค้นเทคนิคการสอดแทรกสารสนเทศลงในสัญญาณพาห์ที่เรียกกันว่า “มอดดูเลชั่น (Modulation)” หรือ “การกล้ำสัญญาณ” ในรูปแบบต่างๆ เช่น AM, FM, PM เป็นต้น ทำให้เทคโนโลยีการส่งสัญญาณไปสู่แดนไกลเกิดเป็นจริงขึ้น เมื่อมนุษย์สามารถส่งสารสนเทศโดยสัญญาณดังกล่าวไปยังมนุษย์ในที่ต่างๆ ที่อยู่ไกลในโลกนี้ได้ ธุรกิจที่เกี่ยวกับการสื่อสารจึงเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีนี้ ได้แก่ กิจการวิทยุ กิจการโทรทัศน์ เป็นต้น
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง