คอนกรีตกำลังสูงที่ใช้เถ้าชานอ้อยบดละเอียดปริมาณสูงร่วมกับผงแคลเซียมคาร์บอเนต
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Tawich Klathae;Trinh Nhat Ho Tran;Sambath Men;Weerachart Tangchirapat;Chai Jaturapitakkul
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
วารสาร: วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (1906-6627)
Volume number: 15
Issue number: 1
หน้าแรก: 105
หน้าสุดท้าย: 120
จำนวนหน้า: 16
นอก: 1906-6627
URL: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsvrj/article/view/251669
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสารลดน้ำพิเศษ ความพรุน กำลังอัด และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของคอนกรีตกำลังสูงผสมเถ้าชานอ้อยบดละเอียด (GB) ในปริมาณสูงโดยแทนที่ปูนซีเมนต์ในอัตราร้อยละ 65, 70, 75 และ 80 ร่วมกับการใช้ผงแคลเซียมคาร์บอเนต (CC) ร้อยละ 15, 10, 5 และ 0 คงที่ปริมาณปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 (OPC) ร้อยละ 20 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน (65GB15CC, 70GB10CC, 75GB5CC และ 80GB ทุกอัตราส่วนผสม ตามลำดับ) ผลการทดสอบพบว่าคอนกรีตกำลังสูงผสม GB ในปริมาณสูง มีความต้องการสารลดน้ำพิเศษมากกว่าคอนกรีตควบคุม (CON) ในขณะที่ CC สามารถช่วยลดความต้องการสารลดน้ำพิเศษของคอนกรีตกำลังสูงได้ร้อยละ 25 ถึง 50 ความพรุนของคอนกรีตกำลังสูงมีค่ามากขึ้นตามปริมาณการแทนที่ของ GB ที่เพิ่มขึ้น กำลังอัดที่อายุ 28 วัน คอนกรีต 80GB, 75GB5CC, 70GB10CC และ 65GB15CC สามารถพัฒนากำลังอัด เท่ากับ 56.8, 58.2, 65.2 และ 55.5 MPa ตามลำดับ ซึ่งจัดเป็นคอนกรีตกำลังสูง (มากกว่า 55 MPa) ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พบว่าคอนกรีตกำลังสูงที่แทนที่ด้วย GB ร่วมกับ CC มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงร้อยละ 60 ถึง 61 เมื่อเทียบกับคอนกรีต CON จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า GB เป็นวัสดุปอซโซลานที่สามารถใช้ร่วมกับ CC เพื่อแทนที่ OPC ได้ถึงร้อยละ 80 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน เพื่อผลิตคอนกรีตกำลังสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้
คำสำคัญ
คอนกรีตกำลังสูง, แคลเซียมคาร์บอเนต, เถ้าชานอ้อยปริมาณสูง