อิทธิพลของการลากขึ้นรูปแบบซ้ำและสลับทางต่อการบางลงของถ้วยทรงกระบอกก้นโค้ง
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: พงษ์นที ถนอมกุลบุตร, จิราพร ศรีประเสริฐ, วารุณี เปรมานนท์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ชื่อชุด: IENETWORK2024
หน้าแรก: 28
หน้าสุดท้าย: 34
จำนวนหน้า: 7
URL: https://drive.google.com/file/d/1iS6m8hTDSSu_SFYk4WsrkZIR8pZzml1O/view
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของเทคนิคการลากขึ้นรูปลึกที่ส่งผลต่อการบางลงของถ้วยอะลูมิเนียมผสม เกรด 5052 H32 โดยทำการศึกษาการลากขึ้นรูปแบบครั้งเดียว (Conventional drawing) การลากขึ้นรูปแบบซ้ำ (Redrawing) และการลากขึ้นรูปแบบสลับทาง (Reverse drawing) พบว่าการลากขึ้นรูปแบบครั้งเดียว การลากขึ้นรูปแบบซ้ำ และการลากขึ้นรูปแบบสลับทาง ให้ค่าการบางลงอยู่ที่ 11.3%, 7.4% และ 10.7% ตามลำดับ จากการทดสอบการลากขึ้นรูปลึก พบว่าตำแหน่งที่บางที่สุดของถ้วยก้นโค้งอยู่บริเวณผนังตรงเหนือรัศมีพันช์เล็กน้อยในกรณีที่ลากขึ้นรูปครั้งเดียว กรณีที่ลากขึ้นรูปซ้ำพบว่ามีส่วนช่วยในการลดการบางลง เนื่องจากการขึ้นรูปในขั้นตอนที่ 2 เกิดการยืดตัวเฉพาะบริเวณส่วนโค้งก้นถ้วยจึงไม่มีผลกับบริเวณผนังตรงที่บางลงมากที่สุดในขั้นตอนที่ 1 ส่วนการลากขึ้นรูปสลับทาง พบว่าการขึ้นรูปในขั้นตอนที่ 1 เกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะส่วนโค้งก้นถ้วย จึงไม่มีส่วนช่วยในการลดการบางลงที่บริเวณเหนือรัศมีพันช์เล็กน้อยที่เกิดการบางลงมากที่สุดในขั้นตอนที่ 2 และทำให้มีแนวโน้มการกระจายตัวความหนาไปในทิศทางเดียวกับการลากขึ้นรูปครั้งเดียว
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง