การประเมินความยั่งยืนกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน: วิสาหกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลถ้ำรงค์ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งIttisak Jirapornvaree, Surat Petchnil, Passanan Assavarak, and Prapamon Seeprasert

ผู้เผยแพร่HRDI Co., Ltd.,

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

Volume number4

Issue number1

หน้าแรก13

หน้าสุดท้าย30

จำนวนหน้า18

นอก3027-6985

URLhttps://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1196

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย โดยในปัจจุบันนอกจากส่งเสริมการท่องเที่ยวกระแสหลัก การส่งเสริมการท่องเที่ยวกระแสรองที่เน้นการขับเคลื่อนจากฐานราก ผ่านแนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism; CBT) ได้รับความนิยมในการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงความยั่งยืนของแนวทางการพัฒนา ทีมวิจัยได้ประเมินความยั่งยืนกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านการประยุกต์ใช้เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก The GSTC Destination Criteria (GSTC - D) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับชุมชน สังคม และพื้นที่ในทางบวก กล่าวคือ การดำเนินงานดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดการจ้างงาน และสร้างอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานโดยวิสาหกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลถ้ำรงค์ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ยังพบความท้าทายกับการดำเนินงานโดยส่วนใหญ่ในเกณฑ์ด้าน A การประเมินความยั่งยืน ดังนั้นเพื่อให้เกิดการยกระดับการดำเนินงานการส่งเสริมการท่องเที่ยวกระแสรองให้ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ และมีความยั่งยืนในการดำเนินงาน ข้อค้นพบในครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเติมเต็มให้การขับเคลื่อนและส่งเสริมการพัฒนาเชิงพื้นที่ สอดคล้องกันกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เน้นการลดความเหลื่อมล้ำจากการสร้างเศรษฐกิจจากฐานราก และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบนผืนดินต่อไป


คำสำคัญ

Community Based TourismCommunity Based Tourism EnterpriseSustainable TourismTourism City


อัพเดทล่าสุด 2024-11-06 ถึง 00:00