อิทธิพลของความเค้นแรงดึงที่ส่งผลต่อความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อน

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งUdomsak Sawangwong and Nutthanun Moolsradoo

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

หน้าแรก194

หน้าสุดท้าย198

จำนวนหน้า5

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาอิทธิพลของความเค้นแรงดึงที่ส่งผลต่อความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อน วัสดุชิ้นงาน Titanium Alloys (Ti-6Al-4V, Gr5) ถูกดึงด้วยความเค้นแรงดึงที่ 350 MPa , 550 MPa และ 750 MPa จากนั้นชิ้นงานจะถูกนำไปทดสอบความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อนด้วยเทคนิค Potentiodynamic Polarization ในสารละลาย NaCl (0.05 M) และ Hank's Balanced Salt Solution (HBSS) โดยควบคุมค่าศักย์ไฟฟ้าระหว่าง -3 ถึง 3 V ที่ Scan rate 10 mV/s โดย Reference electrode (RE) เป็น Ag/AgCl, Counter electrode (CE) เป็นแผน่ แพลทินัม (Platinum sheet) และ Working electrode (WE) เป็นชิ้นงาน จากผลการทดลองพบว่าวัสดุ Ti-6Al-4V ที่ถูกกระทำด้วยความเค้นแรงดึง 350 MPa มีค่าศักย์ไฟฟ้าการกัดกร่อน (Ecorr) เท่ากับ -0.471 V (NaCl) และ -0.446 V (HBSS) และชิ้นงานที่ผ่านการดึงด้วยแรง 550 MPa และ 750 MPa มีค่าศักย์ไฟฟ้k การกัดกร่อนเท่ากับ -0.666 V (NaCl) และ -0.503 V (HBSS), -0.701 V (NaCl) และ -0.603 V (HBSS) ตามลำดับ เมื่อเพิ่มความเค้นแรงดึงมากขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อนลดลง เนื่องจากวัสดุเกิดการยืดตัวจนผิวเกิดความเสียหาย


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-18-06 ถึง 00:00