การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งYanisa Suwanapal, Passakorn Tangchantrongkul, Peangpen Jirachai and Paitoon Kantunyaluk

ผู้เผยแพร่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

ชื่อย่อของวารสารJLIT

Volume number3

Issue number2

หน้าแรก98

หน้าสุดท้าย112

จำนวนหน้า15

นอกISSN 2773-9740 (Print)

eISSNISSN 2773-9759 (Online)

URLhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/266505


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อ วงจรเครื่องผสมเสียง 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจร เครื่องผสมเสียง 3)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการ เรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์แบบ ปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ก าลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จ านวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีจับฉลาก ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) สื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 2) แบบประเมินคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์แบบ ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง ผลการศึกษาพบว่า สื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจร เครื่องผสมเสียง ที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นสื่อวีดิทัศน์ที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหาที่อยู่ภายในได้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือก เรียนเนื้อหาได้อย่างอิสระ สื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ มีคุณภาพเนื้อหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (𝑥 = 4.64, S.D. = 0.49) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดี (𝑥 = 4.26, S.D. = 0.52) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนมีคะแนน สอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียง อยู่ในระดับมากที่สุด( 𝑥= 4.86, S.D. = 0.36 ) จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าสื่อวีดิทัศน์ แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การเชื่อมต่อวงจรเครื่องผสมเสียงสามารถน าไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียน การสอนได้ 


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-15-06 ถึง 00:00