การพัฒนามอร์ต้าร์มวลเบาที่กระตุ้นด้วยด่างสำหรับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: พรทิภา เกิดมนตรี, พชร ธนากูลวุฒิพร, ลักษมีกานต์ วงษ์เวียน, พฤกษา ใจอินตา, ธนกร สุทธิอาภา, วราลักษณ์ แผ่นสุวรรณ, วีรชาติ ตั้งจิรภัทร, ชัย จาตุรพิทักษ์กุล
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามอร์ต้าร์มวลเบาที่กระตุ้นด้วยด่าง
สำหรับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ โดยใช้เถ้าถ่านหินแคลเซียมสูง (FA) เป็น
วัสดุประสาน ใช้โซเดียมเมต้าซิลิเกต (SM) เป็นด่างกระตุ้นในอัตราร้อยละ
3.0, 4.5, 6.0, 7.5 และ 9.0 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน นอกจากนี้แทนที่
มวลรวมละเอียดด้วยเถ้าก้นเตา (BA) ร้อยละ 50 และ 100 โดยปริมาตร
ของมวลรวมละเอียดสำหรับใช้เป็นวัสดุบ่มภายในและลดความหนาแน่น
ของมอร์ต้าร์ ควบคุมความสามารถในการไหลของมอร์ต้าร์อยู่ระหว่าง
180–190 มม ทำการทดสอบระยะเวลาการก่อตัว กำลังอัด และ
ความสามารถในการขึ้นรูปด้วยการพิมพ์ 3 มิติของมอร์ต้าร์ จากการศึกษา
พบว่าการใช้โซเดียมเมต้าซิลิเกตมากขึ้นทำให้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน
ของมอร์ต้าร์ลดลง ส่งผลให้ระยะเวลาการก่อตัวเร็วขึ้น การแทนที่มวลรวม
ละเอียดด้วยเถ้าก้นเตามากขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาการก่อตัวเร็วขึ้น ความ
หนาแน่นและกำลังอัดของมอร์ต้าร์ลดลง โดยการใช้โซเดียมเมต้าซิลิเกต
ร้อยละ 4.5 ร่วมกับการแทนที่มวลรวมละเอียดด้วยเถ้าก้นเตาร้อยละ 100
มีความเหมาะสมในการผลิตมอร์ต้าร์มวลเบากระตุ้นด้วยด่างสำหรับ
เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ โดยมีความหนาแน่นเท่ากับ 1795 กก/ม3 และ
กำลังอัดเท่ากับ 24.1 เมกะปาสคาลที่อายุ 28 วัน
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง