การหาค่าตัวแปรควบคุมหัวขุดเจาะอุโมงค์ที่เหมาะสมที่สุดแบบหลายเป้าหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวขุดเจาะภายใต้การควบคุมการทรุดตัวของผิวดิน
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: สหัสวรรษ วัยนิพิฐพงษ์, ชนา พุทธนานนท์, พรเกษม จงประดิษฐ์, สมโพธิ อยู่ไว, ภัทรวรรณ มาลัยศรี, โอโชค ด้วงโสน
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
หน้าแรก: GTE12-1
หน้าสุดท้าย: GTE12-10
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การทรุดตัวเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้างอุโมงค์ ซึ่งรับ อิทธิพลจากลักษณะทางกายภาพและมิติของอุโมงค์ สภาพทางธรณีที่ไม่ แน่นอน รวมถึงตัวแปรควบคุมเครื่องขุดเจาะอุโมงค์ การปรับแก้ตัวแปร ควบคุมเครื่องขุดเจาะอุโมงค์เพื่อลดการทรุดตัวจะทำให้มีอัตราขุดเจาะที่ ลดลง (ต้นทุนสูงขึ้น) ดังนั้นการศึกษานี้จึงเสนอการประยุกต์ใช้อัลกอริทึ่ม แบบพันธุกรรมที่ไม่ถูกครอบงำ (NSGA-II) เพื่อหาตัวแปรควบคุมเครื่องขุด เจาะอุโมงค์ที่เหมาะสมที่สุด ที่ทำให้มีอัตราขุดเจาะมากขณะที่เกิดการทรุด ตัวของผิวดินน้อย ร่วมกับโครงข่ายประสาทเทียมแบบหน่วยความจำระยะ สั้นระยะยาว (LSTM) เพื่อใช้ทำนายอัตราขุดเจาะและการทรุดตัวของผิวดิน ซึ่งมีค่า RMSE เท่ากับ 3.585 มม. ต่อนาที และ 6.696 มม. ตามลำดับ และ ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับประเมินคุณภาพของชุดตัวแปรควบคุมเครื่องขุด เจาะอุโมงค์ที่เหมาะสมที่สุด
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง