การศึกษาการรับแรงถอนและแรงเฉือนของจุดเชื่อมต่อระหว่างแผงสถาปัตยกรรมกับโครงสร้างพื้น

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งชูชัย สุจิวรกุล (Chuchai Sujivorkul) ธีระวุฒิ มูฮาหมัด (Teerawut Muhummud) กมลชนก ทองปั้น (Kamonchanok Thongpun) ลัทธชัย วิไลพันธุ์รัตนา (Lattachai Wilaipanrattana)

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2022

ชื่อชุดInnovative Concrete Materials and Construction Technology after COVID

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการทาจุดเชื่อมต่อระหว่างแผงสถาปัตยกรรมหล่อสาเร็จกับโครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กมีการเลือกใช้ทั้งอุปกรณ์พุก รางสาเร็จรูป และอุปกรณ์ที่ได้พัฒนาขึ้นเองจากวัสดุที่มีอยู่โดยที่ไม่เคยทาการทดสอบมาก่อน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการรับแรงของจุดเชื่อมต่อ 2 ลักษณะคือ (ก) การรับแรงถอน และ (ข) การรับแรงเฉือนแบบผลักออกหรือผลักเข้าอาคาร ตัวอย่างที่ใช้เป็นพื้นคอนกรีตขนาดหน้าตัด 40x60 cm และหนา 17 cm โดยมีการเสริมเหล็กกันแตกในพื้น (ยกเว้นการเชื่อมต่อในรูปแบบที่ 3 ที่ไม่มีการเสริมเหล็กกันแตก) และทาการติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อ 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) พุกรางรุ่น HAC-40 91/350F (2) และ (3) พุกรางรุ่น HAC-40 91/300F (4) แผ่นเหล็กพร้อมเหล็กหนวดกุ้งทามุม 45 องศา และ (5) แผ่นเหล็กพร้อมเหล็กหนวดกุ้งทามุม 90 องศา ชุดทดสอบการรับแรงถอนและแรงเฉือนของจุดเชื่อมต่อได้ถูกพัฒนาขึ้นเองในงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงถอนหรือแรงเฉือนกับการเคลื่อนตัวของอุปกรณ์เชื่อมต่อ ผลการศึกษาพบว่า อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้พุกราง รุ่น HAC-40 91/350F สามารถรับแรงถอนได้ดีกว่าอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่น โดยการวิบัติจะเกิดจากสมอยึดได้ถูกถอนออก ขณะที่อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้แผ่นเหล็กพร้อมเหล็กหนวดกุ้งทามุม 45 องศา สามารถรับแรงเฉือนแบบผลักออก หรือผลักเข้าอาคารได้ดีกว่าอุปกรณ์เชื่อมต่อแบบอื่น ซึ่งคาดว่าเกิดจากเหล็กหนวดกุ้งที่เอียงตัวช่วยทาให้สามารถรับแรงเฉือนได้ดีขึ้น นอกจากนี้สังเกตเห็นว่าอุปกรณ์เชื่อมต่อแบบพุกรางจะเกิดการวิบัติแบบแรงเฉือนโดยที่สลักเกลียวจะขาดออกจากกัน


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-26-06 ถึง 00:00