การตรวจสอบไอโอโนมของอ้อยที่ติดเชื้อโรคใบขาวอ้อยโดยการใช้ไมโครเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์ สเปกโทรสโกปี

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งPimpilai Saengmanee, Parichart Burns, Jutatape Watcharachaiyakup, Suriyaphong Nilsang, Sonthichai Chanpreme

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

Volume number29

Issue number2

หน้าแรก543

หน้าสุดท้าย562

จำนวนหน้า20

นอก2351-0781


บทคัดย่อ

วัตถุประสงคแ์ ละที่มา : โรคใบขาวซึ่งเกิดจากเชื้อ sugarcane white leaf (SCWL) phytoplasma เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความ เสียหายอย่างรุนแรงต่อการผลิตอ้อยของประเทศไทย อ้อยที่ติดเชื้อ อาจแสดงอาการ หรือไม่แสดงอาการ ซึ่งอ้อยที่ไม่แสดง อาการอาจถูกใช้เป็นท่อนพันธุ์ ท าให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ ในปัจจุบันข้อมูลผลกระทบของเชื้อ SCWL phytoplasma ต่อ อ้อยติดเชื้อ ในระดับธาตุอาหาร โดยเฉพาะในระยะที่ไม่แสดงอาการมีน้อยมาก ท าให้การจัดการระบบปลูก และการให้ธาตุ อาหารในพื้นที่ปลูกอ้อยที่เหมาะสมเป็ นไปได้ยาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ตรวจสอบผลกระทบของ SCWL phytoplasma ต่อการกระจายธาตุอาหารในใบอ้อยและประเมินประโยชน์ของไมโครเอ็กซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์ สเปกโทรสโกปี ส าหรับการวิเคราะห์เปรียบเทียบธาตุอาหารในอ้อย วิธีด าเนินการวิจัย : เก็บตัวอย่างใบจากต้นอ้อยสายพันธุ์ขอนแก่น 3 อายุ 10 เดือน ที่แสดงอาการโรคใบขาว จ านวน 15 ตัวอย่างซึ่งแบ่งตามความรุนแรงของอาการออกเป็น 3 ระดับ (ระดับละ 5 ต้น) และอ้อยที่ไม่แสดงอาการ จ านวน 10 ตัวอย่าง จากแหล่งปลูก อ าเภอ เลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีน าตัวอย่างมาตรวจหาเชื้อsugarcane white leaf (SCWL) phytoplasma ด้วยเทคนิค polymerase chain reaction (PCR) และตรวจสอบสัดส่วนของธาตุในอ้อยที่ปลอดเชื้อไฟโตพลาสมา (ไม่แสดงอาการ และไม่พบเชื้อ) อ้อยที่พบเชื้อแต่ไม่แสดงอาการโรค อ้อยที่แสดงอาการโรคใบขาว โดยใช้Micro X-ray fluorescence spectroscopy (μ-XRF) และใช้การวิเคราะห์ทางเคมีแบบ Inductively Coupled Plasma Optical Emission Spectscopy (ICP-OES) เป็นวิธีการเปรียบเทียบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance (ANOVA) การทดสอบเปรียบเทียบของวิธี Tukey’s และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยวิธี Pearson’s correlation ผลการวิจัย : อ้อยที่แสดงอาการตรวจพบเชื้อ SCWL phytoplasma ทั้ง 15 ตัวอย่าง และอ้อยที่ไม่แสดงอาการตรวจพบเชื้อ 5 ตัวอย่าง เมื่อน าอ้อยที่พบเชื้อมาวิเคราะห์พบธาตุ 6 ชนิดตามล าดับปริมาณที่พบจากมาก-น้อย ได้แก่ โพแทสเซียม ซิลิคอน แคลเซียม ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส และ เหล็ก ตามล าดับ พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยส าคัญระหว่างระดับความรุนแรงของอาการ กับธาตุ 2 ธาตุ คือ ซิลิกอนและซัลเฟอร์ โดยการลดลงของซิลิกอน จะมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยส าคัญ (-0.824) กับ ความรุนแรงของอาการ ขณะที่การเพิ่มขึ้นของซัลเฟอร์จะมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยส าคัญ (0.803) กับความรุนแรง ของอาการ นอกจากนี้ ความสามารถในการคาดการณ์ของแบบจ าลองที่สอบเทียบจากไมโครเอ็กซ์เรย์และ ICP-OES พบว่า Mean Absolute Percentage Error (MAPE)ของ ซิลิกอน โพแทสเซียม และ แคลเซียม มีค่าต ่ากว่า 20% (15.52%, 10.44% และ 9.69% ตามล าดับ) แสดงให้เห็นถึงวิธีของไมโครเอ็กซ์เรย์มีความสามารถในการตรวจวัดใกล้เคียงกับการวิเคราะห์ทางเคมี แบบ ICP-OES สรุปผลการวิจัย : เชื้อ SCWL phytoplasma ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของธาตุอาหารในใบอ้อย โดยเฉพาะธาตุซิลิกอน และซัลเฟอร์นอกจากนั้น ไมโครเอ็กซ์เรย์ เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของธาตุอาหาร เป็นวิธีการที่มี ความน่าเชื่อถือรวดเร็วส าหรับการแสดงการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณในระดับเซลล์ ท าให้เห็นผลกระทบของไฟโตพลาสมา SCWL ต่ออ้อยในช่วงการเปลี่ยนจากระยะที่ไม่มีอาการไปเป็นระยะที่แสดงอาการ ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการ พื้นปลูกอ้อย และการใช้ธาตุเสริมเพื่อลดความรุนแรงของอาการโรคใบขาว


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-28-06 ถึง 00:00