ประสิทธิภาพการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่ถูกกระตุ้นด้วยจุลินทรีย์ (MICP) ในดินเมื่อมีจุลินทรีย์พื้นเมืองร่วมด้วย

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งมุกอันดา สุวัณณะสังข์, พรเกษม จงประดิษฐ์, วีรชาติ ตั้งจิรภัทร, พีรดา พรหมมีเนตร, ภัทรธร โพธิ์เจริญ, ปองชัย ศรีแสงทอง และ อภิชญา เฉี้ยนเงิน

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

หน้าแรกGTE19-1

หน้าสุดท้ายGTE19-7

URLhttps://conference.thaince.org/index.php/ncce29/index


บทคัดย่อ

ในการปรับปรุงคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินด้วยจุลินทรีย์ที่
เหนี่ยวนำให้เกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต (MICP) ในทางปฏิบัติ
จำเป็นต้องพิจารณาการมีส่วนร่วมของจุลินทรีย์พื้นเมืองในดิน งานวิจัยนี้
ตรวจสอบอิทธิพลของจุลินทรีย์พื้นเมืองในดินต่อประสิทธิภาพการทำงาน
ของ MICP ของดินจากแหล่งประวัติศาสตร์ลพบุรีที่เก็บตัวอย่างในฤดูหนาว
ที่ปรับปรุงด้วย Lysinibacillus Sphaericus สายพันธุ์ EW-S2 (ไทย) และ
LMG22257 (ต่างประเทศ) ด้วยการประเมินปริมาณแคลไซต์ ความเร็ว
คลื่นอัลตราโซนิก ความสามารถในการซึมผ่าน และกำลังรับแรงอัดแกน
เดียว ผลลัพธ์ถูกนำมาเปรียบเทียบกับการศึกษาก่อนหน้าที่ใช้ดินจากแหล่ง
เดียวกันแต่เก็บในฤดูร้อน Sirisingumpai และคณะ (2021) จากผลใน
งานวิจัยนี้ ระบุว่าจุลินทรีย์พื้นเมืองและ Lysinibacillus Sphaericus
ส่งเสริมการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต โดยเฉพาะสายพันธุ์ EWS2
ซึ่งตรงกันข้ามกับการค้นพบของ Sirisingumpai และคณะ (2021) ที่
บ่งชี้ว่าจุลินทรีย์พื้นเมืองในดินขัดขวางการทำงานของจุลินทรีย์ MICP ซึ่งบ่ง
บอกเป็นนัยว่าจำเป็นต้องพิจารณาการทำงานร่วมกันของจุลินทรีย์พื้นเมือง
กับจุลินทรีย์พื้นเมือง MICP หากจะประยุกต์เทคโนโลยี MICP ในทางปฏิบัติ
จริง


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-03-07 ถึง 12:00