ประสิทธิภาพของตาข่ายเสริมกำลังดินในหินคลุกซีเมนต์สำหรับชั้นพื้นทาง

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งศรวัสย์ วงษ์เสถียร, รักษ์ศิริ สุขรักษ์, อภิวิชญ์ ทองรักษา, และ พรเกษม จงประดิษฐ์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

หน้าแรกGTE40-1

หน้าสุดท้ายGTE40-7

URLhttps://conference.thaince.org/index.php/ncce29/index


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของหินคลุกด้วยการผสมซีเมนต์
เพื่อปรับปรุงคุณภาพของวัสดุพื้นทางด้วยการเสริมวัสดุตาข่ายเสริมกำลัง
การทดสอบเลือกใช้ขนาดคละของหินคลุกใช้ตามมาตราฐานกรมทางหลวง
สำหรับการทดสอบวัสดุเสริมกำลัง เพื่อหาค่ากำลังรับแรงอัดของวัสดุถูก
ทดสอบผ่านการทดสอบกำลังรับแรงอัดแกนเดียวภายใต้ระยะเวลาบ่ม 7
และ 28 วัน ปริมาณซีเมนต์ที่กำหนด ได้แก่ 0.5% 1% และ 2% ชนิดของ
ตาข่ายเสริมแรง 3 ชนิดที่แตกต่างกัน ได้แก่ ตาข่ายเสริมกำลังแบบรับแรง
ทิศทางเดียว 1 ชนิดและตาข่ายเสริมกำลังแบบรับแรงสองทิศทาง 2 ชนิด
ตำแหน่งในการเสริมตาข่ายเสริมกำลังจะเป็นอัตราส่วน 1/3, 1/2, 2/3 ต่อ
ความสูงตัวอย่าง โดยทำการทดสอบแรงอัดแกนเดียวเพื่อหาค่าโมดูลัส
(E50), ค่ากำลังอัดสูงสุด (qpeak) และทดสอบกำลังรับแรงดัดแบบ 3 จุดเพื่อ
ศึกษาพฤติกรรมการแตกร้าว, อัตราส่วนกำลังดัดเทียบเท่า (RDT,150) จาก
ผลการทดสอบพบว่าการเพิ่มสัดส่วนของซีเมนต์ส่งผลให้กำลังรับแรงอัด
สูงขึ้น ในขณะที่การเสริมวัสดุตาข่ายเสริมกำลังทำให้วัสดุมีค่ากำลังรับ
แรงอัดสูงขึ้นแต่อิทธิพลของชนิดตาข่ายเสริมกำลังไม่ได้มีผลอย่างนัยสำคัญ
ต่อการเพิ่มขึ้นของกำลังรับแรงอัด การเสริมตาข่ายเสริมกำลังแบบทิศทาง
เดียวสามารถเพิ่มกำลังรับแรงดัดมากที่สุด นอกจากนั้น การเสริมตาข่าย
เสริมกำลังทำให้การรับแรงดัดเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจาก softening เป็น
hardening จากผลการวิเคราะห์ค่าอัตราส่วนการดัดเทียบเท่า และตาข่าย
เสริมกำลังสามารถช่วยลดเกิดรอยแตกสะท้อนได้


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-03-07 ถึง 12:00