การวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของการเกษตรทฤษฎีใหม่ด้วยการจำลองโครงสร้างการตีความโดยรวม

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งสายัณห์ สิทธิจรรยาวิไล, เจริญชัย โขมพัตราภรณ์, วรพจน์ อังกสิทธิ์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

หน้าแรก544

หน้าสุดท้าย554

จำนวนหน้า11

URLhttps://sites.google.com/kmitl.ac.th/ciod2024/home

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

การเกษตรมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อประเทศไทยเนื่องจากประมาณร้อยละ 40 ของประชากรไทยยังคงเป็นเกษตรกร การเกษตรสมัยใหม่ เช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยวมักต้องการปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงซึ่งหากใช้อย่างไม่ถูกต้อง อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรเอง การเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นทางเลือกโดยใช้ทรัพยากรอินทรีย์ในพื้นที่ในการเกษตรแทนการใช้สารเคมี การศึกษานี้วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของเกษตรทฤษฎีใหม่ ด้วยวิธีการจำลองโครงสร้างการตีความโดยรวม (Total Interpretive Structural Modelling: TISM) จากการทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้นปรากฏว่ามี 14 ปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี หลังจากการเก็บข้อมูลผ่านการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามซึ่งได้รับกลับมาทั้งสิ้น 323 แบบสอบถาม มีเพียง 9 ปัจจัยที่ยังคงเหลือ จากนั้นมีการเก็บข้อมูลเพิ่มจากผู้เชี่ยวชาญ 33 คนที่ประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้การเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักการของ TISM และการสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และความมุ่งมั่นเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำคัญสูงที่สุด ตามมาด้วยความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ และกสิกรรมธรรมชาติ สำหรับปัจจัยอื่นๆ อีก 7 ปัจจัยมีความสำคัญน้อยกว่าหรือไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อความสำเร็จของการเกษตรทฤษฎีใหม่


คำสำคัญ

Total Interpretive Structural Modellingกสิกรรมธรรมชาติการเกษตรทฤษฎีใหม่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


อัพเดทล่าสุด 2024-08-07 ถึง 12:00