การศึกษาการหดตัวของคอนกรีตเสริมเส้นใยพอลีโพรพิลีน
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: กมลชนก เกรียงไกร และ ชูชัย สุจิวรกุล
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
หน้าแรก: MAT03-1
หน้าสุดท้าย: MAT03-6
URL: https://conference.thaince.org/index.php/ncce29
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
ปัญหารอยร้าวในคอนกรีตมักพบอยู่เสมอ ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเสริม เหล็กมีความทนทานลดลง เนื่องจากเหล็กเสริมในคอนกรีตเกิดสนิมได้ การ ใช้เส้นใยในคอนกรีตช่วยเพิ่มความสามารถในการรับแรงดึงของคอนกรีต และอาจช่วยควบคุมปริมาณรอยร้าวของคอนกรีต งานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์ (ก) เพื่อศึกษาการควบคุมรอยร้าวเนื่องจากการหดตัวขณะก่อ ตัวของคอนกรีตโดยใช้เส้นใยพอลีโพรพิลีน และ (ข) เพื่อศึกษาผลกระทบ ของการใช้เส้นใยเส้นใยพอลีโพรพิลีนที่มีต่อการหดตัวโดยรวมของคอนกรีต การศึกษานี้ได้เเบ่งการทดสอบเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการทดสอบเพื่อ ควบคุมรอยร้าวจากการหดตัวขณะก่อตัวโดยใช้เส้นเส้นใยพอลีโพรพิลีน ผสมในคอนกรีต ที่ปริมาณของเส้นใยเท่ากับ ร้อยละ 0.05 0.10 0.15 0.20 และ 0.25 โดยปริมาตรคอนกรีต การทดสอบนี้ได้ทำในห้องทดลองที่ มีการควบคุมทั้งอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ ส่วนที่สองเป็นการทดสอบ เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้เส้นใยพอลีโพรพิลีนในคอนกรีตที่มีต่อการ หดตัวโดยรวมของคอนกรีต เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM C157 ปริมาณ ของเส้นใยที่ใช้ในการทดสอบเท่ากับ ร้อยละ 0.10 0.25 0.50 และ 1.00 โดยปริมาตรคอนกรีต ผลการวิจัยพบว่าการเพิ่มปริมาณเส้นใยเส้นใยพอลี โพรพิลีนสามารถช่วยลดรอยร้าวจากการหดตัวขณะก่อตัวของคอนกรีตได้ มากขึ้น นอกจากนี้ การใช้เส้นใยพอลีโพรพิลีนที่ปริมาณร้อยละ 0.10 0.25 และ 0.50 สามารถลดการหดตัวโดยรวมของคอนกรีตที่อายุ 120 วัน ร้อย ละ 30 18 และ 4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การใช้เส้นใยพอลีโพรพิลีน ร้อยละ 1.00 จะส่งผลให้การหดตัวโดยรวมของคอนกรีตมีค่าสูงขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุม
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง