การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้กรอบความคิดแบบเติบโตที่ออกแบบมาโดยเฉพาะให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ : กรณีศึกษาในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และ ผู้เรียนวัยทำงาน

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งจารุพักตร์ เทพแก้ว, ปาณิศา เลิศทหาร และ เอกวัฒน์ นิธิไชโย

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

ชื่อชุดInnovation Enhanced Learning for Sustainable Development Society

หน้าแรก434

หน้าสุดท้าย443

จำนวนหน้า10

URLhttps://iclist.fiet.kmutt.ac.th/iclist2024/


บทคัดย่อ

ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลให้กับผู้เรียนเพื่อให้มีองค์ความรู้ และ ทักษะ ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนั้น ควรควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีกรอบความคิดแบบเติบโต มีมุมมองต่อการเรียนรู้ว่าสามารถฝึกฝนและพัฒนาต่อไปได้ด้วยความพยายาม และประสบการณ์ งานวิจัยที่มีในปัจจุบันจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างกรอบความคิดแบบเติบโตให้กับครู นักศึกษา และ นักเรียน โดยมีระยะเวลาในการจัดกิจกรรมยาวนาน ซึ่งเป็นอุปสรรคหนึ่งในการนาไปขยายผลในวงกว้าง ผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีกรอบความคิดแบบเติบโตในระยะเวลาอันสั้น โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 4 ขั้น ได้แก่ 1) การมีประสบการณ์ใหม่ 2) การไตร่ตรอง 3) การสรุปเป็นหลักการนามธรรม และ 4) การทดลองปฏิบัติจริง จากนั้นนาไปทดลองจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (จานวน 35 คน) นักศึกษาปริญญาโท ปี 1 (จานวน 22 คน) และผู้เรียนวัยทางาน (จานวน 14 คน) โดยปรับการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ 2-3 ชั่วโมง ทาการวัดผลจากการประเมินตนเองของผู้เรียนและการสังเกตของผู้วิจัย ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้นี้สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกกลุ่มมีกรอบคิดแบบเติบโต กลุ่มนักเรียนสนุกกับการทากิจกรรมและสะท้อนความคิดว่ามีความมั่นใจมากขึ้นจากเดิม มีความกล้าและอยากทดลองทาสิ่งใหม่ กลุ่มนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยของกรอบความคิดแบบเติบโตหลังอบรมในระดับมากที่สุด ขณะที่ก่อนอบรมอยู่ในระดับปานกลาง และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด หลังการอบรม กลุ่มผู้เรียนวัยทางานมีกรอบความคิดแบบเติบโตสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-12-07 ถึง 00:00