การพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับการตรวจจับสภาวะการเป็นสัดในโคนม
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ราชวดี ศิลาพันธ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2023
วารสาร: ISTRS e-Journal (NO_ISSN)
Volume number: 7
Issue number: 15
หน้าแรก: 18
หน้าสุดท้าย: 20
จำนวนหน้า: 3
นอก: NO_ISSN
URL: https://istrs.kmutt.ac.th/www/istrsejournal
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2563-2566 พบว่า ผลผลิตน้ำนมดิบในประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโรคระบาดและต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงและบริหารจัดการฟาร์มโคนมที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนค่าอาหารปรับตัวสูงขึ้นเป็นพิเศษจากผลของโรคระบาดโควิด-19 และสงครามระหว่างประเทศ ทำให้ฟาร์มที่ขาดการวางแผนการบริหารจัดการที่ดี ไม่สามารถแบกรับต้นทุนเหล่านี้ได้ แม้กระทั่งฟาร์มที่มีระบบบริหารจัดการที่ดีแต่ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจและความเอาใจใส่ดูแลก็เกิดปัญหาขาดทุนเช่นเดียวกัน ส่งผลให้มีฟาร์มจำนวนหลายพันฟาร์มต้องล้มเลิกกิจการไป เมื่อพิจารณาแนวโน้มของตลาดการดูแลปศุสัตวททั่วโลก พบว่าตลาดการดูแลปศุสัตว์อัจฉริยะมีมูลค่าถึง 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตถึง 11.0% จากปี 2022-2030 โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีนและภูมิภาคอาเซียนนัน มีอัตราการเติบโตของตลาดปศุสัตว์อัจฉริยะสูงกว่าทวีปอื่น ๆ โดยโคเนื้อและโคนมจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงกว่าสัตว์เศรษฐกิจอื่น ดังนันประเทศไทยจึงควรนำระบบการดูแลปศุสัตว์อัจฉริยะมาใช้งานสำหรับฟาร์มโคนม เทคโนโลยีและนวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้ช่วยจัดการฟาร์มและสามารถลดปัญหาด้านทรัพยากรบุคคลที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงดูโคนมได้ในระยะยาว
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง