การเพิ่มความสามารถในการขึ้นรูปขอบรูโดยการปรับปรุงคุณภาพของขอบรูเจาะด้วยกระบวนการตัดเชฟ

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งจิราพร ศรีประเสริฐ, กุศล พร้อมมูล, รัชนี ไพศาล, นพดล คุ้มอนุวงศ์, พรรณี ใจหล้า, กฤติกา เกิดส่ง และ ทิพวรรณ เดชเมือง

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

ชื่อชุดThe 38th Conference of Mechanical Engineering Network of Thailand

หน้าแรก426

หน้าสุดท้าย433

จำนวนหน้า8

URLhttps://www.tsme.org/me-nett/me-nett2024/

ภาษาThai (TH)


ดูบนเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์


บทคัดย่อ

การขึ้นรูปขอบรู (Hole Flanging) เป็นกระบวนการหนึ่งที่มักเกิดปัญหาการฉีกขาดจากขอบรูเจาะ โดยทั่วไปกระบวนการเจาะรูด้วยพันช์จะมีผลต่อค่าความสามารถในการขึ้นรูปขอบรู เนื่องจากพื้นผิวบริเวณขอบรูไม่สม่ำเสมอ ซึ่งประกอบด้วยส่วนโค้งมน ส่วนเรียบตรง ส่วนแตกหัก และครีบ งานวิจัยนี้ได้ทำการปรับปรุงคุณภาพของขอบรูเจาะด้วยกระบวนการตัดเชฟ (Shaving Process) โดยใช้สเตปเทเปอร์พันช์มุมเอียง 6 องศา ระยะเผื่อการตัดเชฟ (Shaving Allowance) 2%, 5% และ 15% ของความหนาชิ้นงาน และช่องว่างแม่พิมพ์ (Clearance) 0.5%, 1% และ 2% ของความหนาชิ้นงาน วัสดุที่ใช้ในการทดลองเป็นโลหะแผ่นขาวรีดเย็น (SPCC) หนา 1 มิลลิเมตร จากการทดลองพบว่าในเงื่อนไขที่ใช้ช่องว่างแม่พิมพ์น้อย (≤0.5%T) การใช้ระยะเผื่อการตัดเชฟที่มีขนาดเล็กจะให้คุณภาพผิวของขอบรูเจาะที่ดีกว่า เงื่อนไขที่ใช้ระยะเผื่อการตัดเชฟที่มีขนาดใหญ่ จะทำให้คุณภาพผิวของขอบรูเจาะแย่ ขอบรูเจาะที่มีคุณภาพผิวที่ดี (มีส่วนเรียบตรงมาก) จะส่งผลให้มีความสามารถในการขึ้นรูปขอบรูสูง และการวางชิ้นงานแบบคว่ำครีบลง (วางครีบไว้ฝั่งพันช์) จะช่วยให้มีความสามารถในการขึ้นรูปขอบรูมากกว่าการวางชิ้นงานแบบหงายครีบขึ้น (วางครีบไว้ฝั่งดาย)


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-17-08 ถึง 00:00