ผลของสนามไฟฟ้าที่ขอบของตัวเก็บประจุแบบแผ่นคู่ขนานที่มีวัสดุไดอิเล็กตริก

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งSaran Thippaeng, Chittra Kedkaew

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

หน้าแรก867

หน้าสุดท้าย874

จำนวนหน้า8

URLhttps://science.buu.ac.th/src15/?fbclid=IwY2xjawEqN2hleHRuA2FlbQIxMAABHSTVscvDOqBxA_avVC9X0mohsLwH9kwmYCGIj5e_PIX6_fmHyVdcyTynMg_aem_6F5AdZEiysjPd70WyfOFyA


บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมายของงานนี้ ต้องการวัดค่าความจุไฟฟ้าที่ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ วัสดุไดอิเล็กตริก (อากาศ และน้ำ DI) รัศมี (r = 12.0, 16.9, 22.1, 27.3, 32.3 มม.) และระยะห่าง (d = 3 และ 5 มม.) ระหว่างแผ่นตัวนำ โดยตัวเก็บประจุแบบแผ่นขนาน ประกอบขึ้นจากแผ่นอลูมิเนียมสองแผ่นที่ขนานกัน สำหรับวัสดุไดอิเล็กตริก ที่ใช้ในงานนี้ เป็นอากาศ และอีกเงื่อนไขหนึ่งเป็นการเติมน้ำร้อยละ 50 ของความสูงของระยะห่างระหว่างแผ่นคู่ขนาน  ซึ่งค่าความจุไฟฟ้าสามารถคำนวณได้โดยใช้สมการ  เมื่อสนามไฟฟ้ามีการกระจายสม่ำเสมอ จากผลการทดลองที่ได้พบว่า ค่าความจุไฟฟ้าที่วัดได้ มีค่าสอดคล้องกับกันกับค่าในทางทฤษฎี อย่างไรก็ตามค่าความจุไฟฟ้าที่วัดได้นั้นจะค่าสูงกว่าค่าความจุไฟฟ้าที่คำนวณจากทฤษฎี เนื่องจากผลของสนามไฟฟ้าที่ขอบ โดยค่าสนามไฟฟ้าที่ได้ระหว่างแผ่นตัวนำขนานจะมีค่าไม่สม่ำเสมอ เมื่อพื้นที่ของแผ่นตัวนำมีขนาดเล็ก หรืออัตราส่วนระหว่างรัศมีและระยะห่างระหว่างแผ่นตัวนำ (r/d) มีค่าน้อยกว่า 10 และผลกระทบของสนามไฟฟ้าที่ขอบนี้จะลดลงเมื่อพื้นที่ของแผ่นตัวนำมีค่าเพิ่มขึ้น


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-16-08 ถึง 00:00