การออกแบบและวิเคราะห์เตียงพับแบบปรับได้เพื่อการจัดท่าระบายเสมหะ

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งธีรทัศน์ พรยั่งยืน, สื่อจิตต์ เพ็ชร์ประสาน, จรูญรัตน์ ปริญญาคุปต์, เบญจรัตน์ แสงทอง, พิชญ์สิณี สุวรรณแพทย์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

ชื่อชุดInnovative Approaches for a Mechanical Engineering

หน้าแรก601

หน้าสุดท้าย610

จำนวนหน้า10

URLhttps://heyzine.com/flip-book/1d29f9b41d.html#page/607

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการออกแบบและวิเคราะห์ความแข็งแรงของเตียงพับแบบปรับได้เพื่อการจัดท่าระบายเสมหะ ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเสมหะคั่งค้างในปอดและระบบทางเดินหายใจ โดยใช้การยศาสตร์สัดส่วนร่างกายมนุษย์และหลักการวิศวกรรมช่วยออกแบบโครงสร้างเตียงเป็น 3D CAD Model ในรูปแบบท่าต่างๆ ด้วยโปรแกรม SolidWorks วิเคราะห์ความแข็งแรงของเตียงด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ เตียงที่ออกแบบขึ้นมีกลไกภายในสามารถยกเอียงโครงเตียงเป็นมุมช่วยจัดท่าผู้ป่วยเป็นลักษณะท่าต่าง ๆ ได้ตามหลักเทคนิคการจัดท่าระบายเสมหะ โครงสร้างเตียงกำหนดเป็นท่ออลูมิเนียมขนาดไม่เกินเตียงสามฟุตมาตรฐาน ออกแบบให้สามารถยกวางซ้อนบนเตียงผู้ป่วยแล้วทำการปรับเตียงเป็นท่าต่าง ๆ การวิเคราะห์ความแข็งแรงของเตียงที่ออกแบบโดยจำลองการรับภาระกรรมที่เกิดขึ้น กำหนดน้ำหนักตัวผู้ป่วยเท่ากับ 200 กก. ตามมาตรฐาน BS EN 60601 ออกแบบและวิเคราะห์โดยสร้างแบบจำลองโครงสร้างเตียง ในรูปแบบท่าจำนวน 3 ท่า ได้แก่ ท่านอนราบ ท่ายกหัวเตียงและท่ายกท้ายเตียงแล้วทำการวิเคราะห์ที่ขนาดโครงสร้างต่างกัน 3 ขนาด ได้แก่ โครงสร้างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25.4 มม. 31 มม. และ 38 มม. เพื่อเปรียบเทียบหาโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงเพียงพอ ผลการวิเคราะห์พบว่าโครงสร้างเตียงขนาด 25.4 มม. ความแข็งแรงเพียงพอต่อการใช้งานในทุกรูปแบบท่า โดยพบค่าความปลอดภัยต่ำสุด เท่ากับ 2.99 สรุปได้ว่าโครงสร้างเตียงขนาด 25.4 มม. จากการออกแบบตามบทความนี้ สามารถปรับเป็นท่าต่างๆ ได้ตามหลักการจัดท่าระบายเสมหะ และมีความแข็งแรงเพียงพอรับภาระกรรมจากน้ำหนักของผู้ป่วยได้สอดคล้องตามมาตรฐาน BS EN 60601


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-21-08 ถึง 12:00