การศึกษาด้านการใช้พื้นที่ที่ส่งผลต่อการสัญจรในพื้นที่เลียบทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งเทอดพงศ์ บุญพันธ์, ชัญญรัชต์ นิธิธีรพัชร์, กัญจนีย์ พุทธิเมธี

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

Volume number14

Issue number2

นอกISSN 3027-7043 (Print)

eISSNISSN 2697-6560 (Online)

URLhttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/252437


บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการใช้พื้นที่ที่ส่งผลต่อการสัญจรภายในพื้นที่บริเวณเลียบทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย ในกลุ่มกรุงธนเหนือ ได้แก่ สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ตลาดพลู วุฒากาศ คลองต้นไทร จอมทอง วัดไทร และวัดสิงห์ เพื่อเสนอแนะการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีแผนพัฒนาพื้นที่นี้ให้มีความเจริญมากขึ้น การศึกษาเริ่มจากรวบรวมและทบทวนข้อมูลทุติยภูมิ และรวบรวมข้อมูลเชิงลึกด้านพื้นที่ที่ส่งผลต่อการสัญจรโดยการสำรวจภาคสนาม ผลการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ พบว่าพื้นที่เลียบทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย ในกลุ่มกรุงธนเหนือ มีความหลากหลายของวัฒนธรรมและการใช้ประโยชน์พื้นที่ เช่น เป็นย่านเมืองเก่า แหล่งร้านอาหารอร่อย สวนผลไม้ ตลาดน้ำ วัดที่เก่าแก่ มีระบบการขนส่งระดับเมืองที่สะดวกสามารถเชื่อมต่อการเดินทางไปยังเขตเมืองและจังหวัดอื่น ๆ ใกล้เคียง เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และมีแผนพัฒนารถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ผลการสำรวจภาคสนามพบว่าพื้นที่ศึกษามีพื้นที่ว่างและทางจักรยานกระจายอยู่ทั่วไป และมีที่จอดรถจักรยานใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส มีคลองกระจายครอบคลุมพื้นที่ จึงควรพัฒนาโครงข่ายการเดินทางระหว่างชุมชน และชุมชนชั้นในที่มีข้อจำกัดด้านการเข้าถึง พื้นที่ริมทางรถไฟสามารถพัฒนาเป็นเส้นทางเดิน และทางจักรยานที่มีความต่อเนื่องเป็นโครงข่ายจากชุมชนสู่สถานีรถไฟฟ้า ส่งเสริมการสัญจรทางน้ำ และการสัญจรหลากทางเลือกโดยเฉพาะคลองด่านหรือคลองสนามไชย เพื่อเชื่อมต่อการสัญจรด้วยระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แต่ต้องมีการศึกษาผลกระทบด้าน    อื่น ๆ เพิ่มเติมเพราะในการสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มไม่มีแผนรองรับการพัฒนาที่ชัดเจน


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2025-20-01 ถึง 12:00