การสังเคราะห์สารดูดความชื้นจากเปลือกหอยลายสาหรับการดูดความชื้นของผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกุ้ง

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งSurapat Pansumrong, Nutthapong Chuchua, Surapong Natprasom, Patcharin Naemchanthara, Kriangkrai Wantong and Kittisakchai Naemchanthara

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

URLhttps://sci.chandra.ac.th/ncst2024/


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์สารดูดซับจากเปลือกหอยลาย เปลือกหอยลายถูกนาไปล้างด้วยน้า ตากแห้ง และบดให้เป็นผง หลังจากนั้นผงเปลือกหอยลายที่ 10 กรัม ถูกให้ความร้อนที่ 1100°C โครงสร้างผลึกของผงเปลือกหอยลายก่อนและหลังการให้ความร้อนถูกตรวจสอบลักษณะเฉพาะด้วยเครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (XRD) จากผล XRD แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างผลึกเริ่มต้นของผงเปลือกหอยลายแบบแคลเซียมคาร์บอเนต หลังจากให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 1100°C โครงสร้างผลึกแบบแคลเซียมคาร์บอเนตของเปลือกหอยลายจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกไซด์อย่างสมบูรณ์ แคลเซียมออกไซด์จากเปลือกหอยลายถูกใช้เป็นสารดูดความชื้นในผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกุ้งที่ 25 g ซึ่ง 10 g ของแคลเซียมออกไซด์ในถุงรูพรุนจานวน 4 ถุง เพื่อใช้ในการทดสอบการดูดความชื้น ที่ 0, 10, 30 และ 60 วัน ประสิทธิภาพการดูดความชื้นของสารดูดความชื้นจากเปลือกหอยลายถูกตรวจสอบผ่านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึกของแคลเซียมออกไซด์ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกุ้งถูกนามาศึกษาปริมาณน้าอิสระและความกรอบ ผลการทดลองพบว่าสารดูดความชื้นแคลเซียมออกไซด์เปลี่ยนเป็นแคลเซียมไฮดรอกไซด์บางส่วนหลังการทดสอบการดูดความชื้นที่ 10 วัน ยิ่งไปกว่านั้นผลของปริมาณน้าอิสระของผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกุ้งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 0 ถึง 60 วัน ในขณะที่ความกรอบของผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกุ้งลดลงเล็กน้อย จากการทดลองพบว่าสารดูดความชื้นสามารถสังเคราะห์ได้จากเปลือกหอยลายและใช้เป็นสารดูดความชื้นในผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกุ้งได้


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-21-08 ถึง 12:00