การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอาร์เอ็นเออินเตอร์เฟียเรนซ์เพื่อควบคุมเชื้อไวรัสสาเหตุโรคใบด่างมันสำปะหลัง
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: วรารัตน์ ศรีประพัฒน์, บุญเรือนรัตน์ เรืองวิเศษ, ภรณี สว่างศรี, ปิยนุช ศรชัย และ จิราภรณ์ จิรัคคกุล
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
โรคใบด่างมันสำปะหลังเป็นปัญหาสำคัญที่สร้างผลกระทบต่อการผลิตมันสำปะหลังของไทย เนื่องจากทำให้ผลผลิต
มันสำปะหลังเสียหาย เกษตรกรไม่สามารถเก็บผลผลิตได้โดยเชื้อไวรัสSri Lankan Cassava Mosaic Virus (SLCMV) สามารถเข้าทำลาย มันสำปะหลังได้ทุกระยะการเจริญเติบโต งานวิจัยนี้จึงจะพัฒนาสารชีวภาพจากเทคโนโลยีอาร์เอ็นเออินเตอร์ เฟียเรนซ์เพื่อลดอัตรา การเกิดโรคในท่อนพันธุ์มันสำปะหลังโดยทำการออกแบบและสังเคราะห์อาร์เอ็นเอสายคู่จากยีนของไวรัสSLCMV เป้าหมาย 3 ยีนได้แก่ AV1, AV2 และ AC1 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนห่อหุ้มอนุภาค การเพิ่มปริมาณไวรัสและการเคลื่อนย้ายไวรัสจากเซลล์ ไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืชอาศัยโดยเมื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพ dsRNA กับท่อนพันธุ์มันสำปะหลังพบว่าdsRNA-AC1-2 สามารถ ลดระดับความรุนแรงของการเกิดโรคได้ดีที่สุดส่งผลให้ท่อนมันสำปะหลังมีระดับการเกิดโรคเฉลี่ยเท่ากับ28.33±1.44% รองลงมา คือdsRNA-AV1-3, dsRNA-AC1-1 และ dsRNA-AV1-2 ตามลำดับซึ่งจะทำให้มันสำปะหลังมีระดับการเกิดโรคเฉลี่ยเท่ากับ 35.83±1.44%, 52.5±2.5% และ 54.17±1.44% ตามลำดับจากการตรวจสอบเชื้อไวรัสในท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่เป็นโรคใบด่างที่ ผ่านการแช่ท่อนพันธุ์ด้วย dsRNA พบว่าบางท่อนพันธุ์ไม่สามารถตรวจพบเชื้อ SLCMV ได้ซึ่งได้แก่ท่อนพันธุ์ที่แช่ใน dsRNA-AV1-1, dsRNA-AV1-2, dsRNA-AV1-3, dsRNA-AV2-1, dsRNA-AC1-1 และ dsRNA-AC1-2 แสดงว่า dsRNA สามารถลดการติดเชื้อไวรัสสาเหตุโรคใบด่างในท่อนพันธุ์ได้ 70% ส่งผลให้พืชมีระดับความรุนแรงของโรคลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง