การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของระบบกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากเทคโนโลยีในประเทศ
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: นิติกร นันทวิโรจน์สิริ, อุสาห์ บุญบำรุง, เนติธร ดิษฐนิล และ ธาตรี มามี
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ชื่อชุด: การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครั้งที่ 15 (CIOD 2024)
หน้าแรก: 94
หน้าสุดท้าย: 99
จำนวนหน้า: 6
URL: https://sites.google.com/kmitl.ac.th/ciod2024/home
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
แม้ว่าเทคโนโลยีกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กจะมีราคาต่อหน่วยพลังงานต่ำสุดในกลุ่มพลังงานหมุนเวียนด้วยกัน แต่สำหรับประเทศไทยการนำเข้าเทคโนโลยีกังหันน้ำจากต่างประเทศเพื่อการผลิตไฟฟ้าจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 80 บาท/W บทความนี้กล่าวถึงผลการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของชุดกังหันน้ำคีรีวง รุ่น KRW-3000 ซึ่งเป็นกังหันน้ำเทคโนโลยีในประเทศ โดยอาศัยผลการทดสอบทางเทคนิคร่วมกับการประเมินตัวชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าการติดตั้งใช้งานชุดกังหันน้ำมีความคุ้มค่าในการลงทุน เมื่อสิ้นสุดโครงการมีผลประโยชน์สูงกว่าต้นทุน ระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 1 ปี และ 4 ปี 4 เดือน กรณีเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องปั่นไฟ และการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามลำดับ คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่ผลิตได้ 0.26 บาท/kWh ซึ่งต่ำกว่าชุดกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่มีจำหน่ายเชิงพานิชย์ในต่างประเทศในปัจจุบัน
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง