การเปรียบเทียบสมรรถนะของเซลล์แสงอาทิตย์แบบด้านเดียวและสองด้าน
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: จิรภัทร ทองฮะสุน, นริส ประทินทอง, อุสาห์ บุญบำรุง, ปฐมธิติ์ ชัยเศรษฐพงศ์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
หน้าแรก: 106
หน้าสุดท้าย: 110
จำนวนหน้า: 5
URL: https://sites.google.com/kmitl.ac.th/ciod2024/home
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
จากปัญหาข้อจำกัดด้านพื้นที่ในการทำเกษตรและพื้นที่ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตพลังงาน ความสนใจในเซลล์แสงอาทิตย์แบบสองด้านได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บทความนี้นำเสนอการศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพการผลิตไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์แบบด้านเดียวและสองด้านภายใต้เงื่อนไขสภาพอากาศในประเทศไทย โดยเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งสองประเภทติดตั้งอยู่บนแท่นทดสอบเดียวกันที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมติดตั้งระบบวัดและเก็บข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าของระบบ โดยปรับเปลี่ยนพื้นผิวด้านใต้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ 5 รูปแบบ คือ พื้นปูน พื้นสีขาว พื้นทราย พื้นหินเกล็ดและพื้นหญ้า ผลการศึกษาพบว่าอัลบีโด (albedo) มีค่าเท่ากับ 23.03, 37.59, 22.56, 24.65 และ 19.15 ตามลำดับ ขณะที่ความสามารถในการผลิตพลังงานที่เพิ่มขึ้น (Bifacial gain) เท่ากับ 15.62, 20.96, 11.33, 11.2 และ 8.1 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์แบบสองด้านในพื้นที่ทำการเกษตรที่จำกัด
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง