การออกแบบและสร้างต้นแบบชุดฝึกซ้อมการขับขี่สำหรับรถประหยัดเชื้อเพลิง

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งวสวัตติ์ เสาวดี และ ชวิน จันทรเสนาวงศ์

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

Volume number18

Issue number2

หน้าแรก27

หน้าสุดท้าย42

จำนวนหน้า16

URLhttps://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/267342


บทคัดย่อ

การออกแบบและสร้างต้นแบบชุดฝึกซ้อมการขับขี่สำหรับรถประหยัดเชื้อเพลิงนั้น เป็นการจำลองการขับขี่เพื่อเปรียบ เทียบอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ขับขี่บนเครื่องทดสอบกับการขับขี่บนสนามจริง โดยการชั่งน้ำหนักเชื้อเพลิงที่ใช้ก่อน-หลัง การทดสอบ เพื่อให้ทราบถึงอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถประหยัดเชื้อเพลิงก่อนไปแข่งขันจริง โดยการทดสอบแบ่ง เป็น 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอน 1 ทดสอบขับขี่โดยทำการปรับเพิ่ม-ลด แรงกดของชุดสร้างแรงต้านที่ล้อช่วยแรงที่ 0 5 10 15 และ 20 นิวตัน และน้ำผลการทดสอบมาเปรียบเทียบกับผลการแข่งขันครั้งก่อน เพื่อหาค่าแรงต้านจำลองบนเครื่องทดสอบ ขั้นตอนที่ 2 ทำการขับขี่รถประหยัดที่ความเร็วสูงสุดต่าง ๆ ดังนี้ 50 55 และ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อหาความเร็วสูงสุด ที่เหมาะสมที่สุดในการขับขี่ ขั้นตอนที่ 3 ทดสอบการขับขี่โดยใช้ข้อมูลการทดสอบในข้างต้น เพื่อเปรียบเทียบดูแนวโน้มอัตราสิ้น เปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ยที่ระยะทาง 18 กิโลเมตร ตามกฎกติกาการแข่งขัน จากผลการทดสอบได้ค่าแรงกดที่ชุดสร้างแรงต้าน เท่ากับ 6.84 นิวตัน และความเร็วสูงสุดที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ช่วยให้รถมีอัตราประหยัดเชื้อเพลิงมากที่สุด จากผล การทดสอบในระยาทาง 18 กิโลเมตรพบว่าอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 51.48 กรัม (265.80 กิโลเมตรต่อลิตร) ดังนั้นในส่วนของการปรับปรุงพัฒนาส่วนต่าง ๆ ในอนาคตนั้น ผู้วิจัยสามารถใช้ชุดฝึกซ้อมการขับขี่สำหรับรถประหยัด เชื้อเพลิงเพื่อคาดคะเนอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ก่อนจะทำการเข้าแข่งขันจริงเพื่อหาจุดที่ดีที่สุดของการปรับปรุงเพื่อ การแข่งขันในครั้งถัดไป

คำสำคัญ: รถประหยัดเชื้อเพลิง อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ความเร็วเฉลี่ยที่ขับขี


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-24-08 ถึง 00:02