การพยากรณ์ผลผลิตข้าวขาวพันธุ์ดอกมะลิ 105 ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยการถดถอยแบบข้อมูลแผงรวมส่วนประกอบหลัก

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งวิรัญยา มัสอูดี, สิลดา สะทองบุญ, พรทิพย์ เดชพิชัย

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

ชื่อชุดการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 7

หน้าแรก44

หน้าสุดท้าย54

จำนวนหน้า11


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบการถดถอยสาหรับข้อมูลแผงร่วมกับการวิเคราะห์ส่วนประกอบหลักสาหรับ
การพยากรณ์และศึกษาปัจจัยสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางด้านการเกษตรสาหรับข้าวขาวพันธุ์ดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ข้อมูลในงานวิจัยนี้เป็นข้อมูลแผง (Panel data) ที่เก็บข้อมูลหน่วยตัวอย่างจาก 5 จังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ยโสธร มหาสารคาม และศรีสะเกษ โดยแต่ละจังหวัดจะเก็บข้อมูลผลผลิตข้าวรายปีจากส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร และข้อมูลสภาพภูมิอากาศรายเดือนตามช่วงฤดูกาลเพาะปลูกจาก NASA/POWER ตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 ถึง พ.ศ.2564 โดยมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด คือชุดฝึกฝน สาหรับการสร้างตัวแบบ และชุดทดสอบ สาหรับการวัดประสิทธิภาพในการพยากรณ์ของตัวแบบด้วยค่ารากที่สองของค่าความคลาดเคลื่อนก าลังสองเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรสภาพภูมิอากาศมีความสัมพันธ์กันสูง (Multicollinearity) จึงมีการวิเคราะห์ส่วนประกอบหลัก เพื่อสร้างส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนประกอบ ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรของข้อมูลชุดเดิมได้ร้อยละ 85.83 เพื่อวิเคราะห์ตัวแบบการถดถอยสาหรับข้อมูลแผง และผลการเปรียบเทียบตัวแบบการถดถอยสาหรับข้อมูลแผง พบว่า ตัวแบบการถดถอยสาหรับข้อมูลแผงรวมส่วนประกอบหลักแบบเวลาคงที่เป็นตัวแบบที่ดีสุด มีค่ารากที่สองของค่าความคลาดเคลื่อนก าลังสองเฉลี่ย เท่ากับ 18.33 และจากการศึกษาปัจจัยสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อผลิตข้าว พบว่า ความเร็วลมต่า มีผลกระทบเชิงบวกต่อผลผลิตข้าวขาวพันธุ์ดอกมะลิ 105 โดยสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวในแต่ละปีแตกต่างกันไป


คำสำคัญ

การพยากรณ์การถดถอยสำหรับข้อมูลแผงข้าวผลผลิต


อัพเดทล่าสุด 2024-27-08 ถึง 00:00