การศึกษาปัจจัยสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดไข้เลือดออกด้วยตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียมวนซ้ำแบบ LSTM สาหรับข้อมูลผสม

Poster


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งศศิธร แสนปอการ, อัมพกา อุปชา, พรทิพย์ เดชพิชัย

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024

หน้าแรก122

หน้าสุดท้าย123

จำนวนหน้า2


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย โดยใช้Machine Learning มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ที่มีอัตราการระบาดสูง ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน น่าน จันทบุรี ตราด และตาก ด้วยตัวแบบ โครงข่ายประสาทเทียมวนซ้ำแบบ LSTM ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลแบบผสมมีลักษณะการเก็บข้อมูลมาจากหลายจังหวัดใน แต่ละจังหวัดจะมีการเก็บข้อมูลมาหลายตัวแปรและหลายปีโดยใช้ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยที่ติดโรคไข้เลือดออกรายเดือน จากระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และข้อมูลสภาพภูมิอากาศรายเดือนจาก NASA/POWER ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยทำการแบ่งชุดข้อมูลออกเป็น ข้อมูลสำหรับฝึกสอนร้อยละ 80 และข้อมูลสำหรับทดสอบร้อยละ 20 จากผลการวิจัยพบว่าตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียมวนซ้ำแบบ LSTM มีประสิทธิภาพในการศึกษาปัจจัยสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดไข้เลือดออก เนื่องจากมีค่า R2 และค่า RMSE เท่ากับ 0.893 และ 28.019 ตามลำดับ และพบว่าปัจจัยสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อ อัตราการเกิดไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ ผลรวมปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยที่ 2 เมตร ทิศทางลมที่ 2 เมตร อุณหภูมิผิวโลก ความเร็วลมต สุดที่ 2 เมตร ความชื้นจำเพาะที่ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 2 เมตร ความเร็วลมที่ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุดที่ 2 เมตร ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยที่ 2 เมตร อุณหภูมิที่ 2 เมตร ความเร็วลมสูงสุดที่ 2 เมตร อุณหภูมิสูงสุดที่ 2 เมตร และความดันพื้นผิว  ตามลำดับ


คำสำคัญ

การพยากรณ์การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning)ไข้เลือดออกตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียมวนซ้ำแบบ LSTMปัจจัยสภาพภูมิอากาศ


อัพเดทล่าสุด 2024-27-08 ถึง 00:00