การเตรียมชิ้นงานสำหรับการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค
หนังสือ
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รุ่น: รศ. ดร.อิศรทัต พึ่งอ้น
ผู้เผยแพร่: ศูนย์เทคโนโลยีซ่อมบำรุงรักษา
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
จำนวนหน้า: 82
ISBN: 9789744568267
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคของวัสดุเป็นสิ่งที่ไม่ได้รับการใส่จากมากนัก แม้ว่าจะมีความสำคัญต่อการวิจัยพัฒนา การควบคุมคุณภาพการผลิต รวมถึงการประเมินสภาพของอุปกรณ์ (Integrity) ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้งาน แม้ว่าในหลาย ๆ หน่วยงานจะมีห้องปฏิบัติการทางด้านวัสดุ การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค หรือกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวต้อง แต่การดำเนินการดังกล่าวส่วนใหญ่แล้ว เป็นไปในลักษณะงานประจำ (Routine) หรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ เพียงเพื่อให้ได้มาซี่งภาพถ่ายซึ่งเชื่อว่าเป็นโครงสร้างจุลภาคที่สนใจ
การเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคจึงต้องได้รับการใส่ใจและเรียนรู้ เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพสอดคล้องเหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคต่อไป อย่างไรก็ตาม การถ่ายทอดความรู้ในการเตรียมตัวอย่างฯ และรวมถึงการถ่ายภาพ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เป็นการส่งต่อในรูปแบบของรุ่นสู่รุ่น ทำให้ความรู้ในรายละเอียดบางอย่างเริ่มจางหายไปไม่ครบถ้วน ภาพของโครงสร้างจุลภาคที่ได้นั้น อาจจะเห็นเป็นเพียงลายอะไรบางอย่างที่ไม่ใช่โครงสร้างจุลภาคแสดงผลอยู่ในรายงานคุณภาพหรือสภาพของชิ้นงาน ซึ่งประเด็นดังกล่าวส่งผลต่อความถูกต้องในการวิเคราะห์ และผลดังกล่าวส่งต่อไปยังคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน
คำแนะนำ (Guideline) ฉบับนี้ จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อมีส่วนร่วมในการบรรเทาปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ความรู้ในการเตรียมตัวอย่างฯ โดยเริ่มจากทฤษฎีทั่วไป แสดงให้เห็นว่าลักษณะของโครงสร้างจุลภาคเกิดขึ้นได้อย่างไรในวัสดุ และสามารถสังเกตเห็นได้อย่างไร จากนั้นในบทที่ 3 จะกล่าวถึงหลักการและขั้นตอนสำหรับการเตรียมชิ้นงานฯ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิคที่ใช้ ในบทที่ 4 จะกล่าวถึงต้นทุนในการเตรียมชิ้นงานฯ เพื่อแสดงให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น รวมถึงแนวทางในการลดต้นทุน ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลดังกล่าวเพื่อประกอบการตัดสินใจสำหรับการควบคุมคุณภาพการผลิตจากการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคได้ นอกจากนี้เนื่องจากการเตรียมชิ้นงานจำเป็นที่จะต้องใช้ทักษะในการดำเนินงาน ดังนั้นการประเมินทักษะ (Qualification) ของผู้ปฏิบัติงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยได้ระบุแนะนำแนวทางในการประเมินทักษะไว้ในบทที่ 5 ซึ่งสามารถทำการทดสอบทักษะใน KMUTT 4Life ผ่านการประเมินในลักษณะของ Micro-Credential
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า คำแนะนำ (Guideline) ฉบับนี้ จะถูกจัดเตรียมโดยอ้างอิงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องในระดับหนึ่ง เช่น ASTM แต่มาตรฐานดังกล่าวก็มิได้ระบุวิธีการที่ชัดเจน ดังนั้นการปฏิบัติการที่ดีนั้น จำเป็นจะต้องสอดคล้องกับวิธีการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ความต้องการของลูกค้า มาตรฐานผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานที่ปฏิบัติงานดังกล่าวในการตรวจสอบดูแลความถูกต้องและสอดคล้องดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้งานนั่นเอง
คำสำคัญ
ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง