นโยบายจูงใจสำหรับการนำเทคโนโลยีการดักจับ ใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนและประยุกต์ใช้ในการผลิตเมทานอล
Conference proceedings article
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: ปาณิสรา พรมมานอก, ปรารถนา โพธิ์น้อย, อำนาจ ผดุงศิลป์
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ชื่อชุด: การประชุมวิชาการ งานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ครั้งที่ 16 (หมวด การจัดการพลังงาน และการจัดการอุตสาหกรรม)
เลขในชุด: T3P-O008
Volume number: 16
หน้าแรก: 71
หน้าสุดท้าย: 75
จำนวนหน้า: 5
URL: https://ecticard2024.srru.ac.th/program/Proceeding-ECTI_CARD_2024-final.pdf
บทคัดย่อ
การปล่อยแก๊สเรือนกระจกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแก๊สเรือนกระจก ประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) ประมาณร้อยละ 70 ส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลักในปัจจุบันของโรงไฟฟ้าถ่านหิน จึงมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีการดักจับ ใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage : CCUS) มาประยุกต์ใช้ โดยงานวิจัยนี้จำลองผ่านโปรแกรม FICAM เพื่อประเมินการติดตั้งเทคโนโลยี CCUS ต่อการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกและวิเคราะห์ทางการเงินที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับการลงทุน และนำเสนอนโยบายจูงใจสำหรับการนำเทคโนโลยีการดักจับ ใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนและประยุกต์ใช้ในการผลิตเมทานอล จากผลการจำลองพบว่าค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิและอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้เฉลี่ยเท่ากับ 142,388,999.71 USD และ 2.08 โดยปริมาณคาร์บอนที่ดักจับได้นำมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยการประยุกต์ใช้ในการผลิตเมทานอลซึ่งนโยบายที่สามารถสนับสนุนการติดตั้งเทคโนโลยี CCUS ประกอบด้วย เงินอุดหนุนจากรัฐบาลต้องไม่ต่ำกว่า 20 – 40 USD/MWh, การดึงดูดทางตลาด, ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม
คำสำคัญ
Carbon capture, การดักจับคาร์บอน