การพัฒนาลวดลายเรขศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรม ด้วยแนวคิดศิลปะร่วมสมัย สู่ผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษา ทุนวัฒนธรรมขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ กรุงเทพมหานครฯ

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งสุระเกียรติ รัตนอำนวยศิริ, พัชรี พันธุ์ยางน้อย, ดรัลรัตน์ สิริกานต์วงศ์มาศ, พาณิภัค วิเศษโชค และ วริศรา มุ่งปั่นกลาง

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

Volume number28

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาลวดลายเรขศิลป์จากทุนวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ กรณีศึกษา ทุนวัฒนธรรมขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ กรุงเทพมหานคร โดย 1) การทบทวนวรรณกรรม, 2) เก็บข้อมูลภาคสนามกับผู้ประกอบการขันลงหิน ด้วยวิธีการสังเกต และการสัมภาษณ์แบบกึ่งทางการ จำนวน 1 กลุ่ม, 3) การเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ และผลิตภัณฑ์แฟชั่น จำนวน 3 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์ปลายปิดให้ระดับความเหมาะสม 5 ระดับ, 4) วิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกัน และเหมาะสมสำหรับผู้บริโภคอายุระหว่าง 26-41 ปี อาศัยบริเวณกรุงเทพ และปริมณฑล, 5) กำหนดกลยุทธ์การออกแบบ, 6) การสร้างสรรค์ลวดลายเรขศิลป์, 7) การนำลวดลายเรขศิลป์สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ เช่น ผืนผ้าคลุมโซฟา, ปลอกหมอน เป็นต้น 8) เก็บข้อมูลความพึงพอใจ 9) สรุปผล พบว่า 1) แนวทางสร้างสรรค์เรขศิลป์บนผืนผ้าจากทุนทางวัฒนธรรมขันลงหินแบบร่วมสมัย ได้ระดับมากที่สุด (x̄=4.60, S.D.=0.49), 2) อารมณ์ความรู้สึกในระดับมาก Modern (x̄=4.20, S.D.=0.75), Natural (x̄=3.80, S.D.=1.47), Classic (x̄=3.80, S.D.=1.17), Dynamic (x̄=3.60, S.D.=1.20), 3) รูปแบบของเรขศิลป์ที่เหมาะสมในระดับมาก ได้แก่ Geometric Art Style (x̄=4.20, S.D.=0.98), Bauhaus Style (x̄ =4.00, S.D.= 0.89), Surrealism Style (x̄=3.60, S.D.=0.80), และ 4) แนวทางการจัดวางลวดลายเรขศิลป์บนผืนผ้า แบบสลับทิศทางได้ระดับมากที่สุด (x̄ = 4.40, S.D. = 0.80), ระดับมาก คือ ลวดลายทิศเดียวกัน (x̄ = 3.80, S.D. = 1.47) และลวดลายแบบกลุ่ม (x̄ = 3.60, S.D. = 1.74)


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-09 ถึง 12:00