กระถางพืชอินทรีย์จากมะพร้าวน้ำหอมเหลือทิ้งและวัสดุรองพื้นคอกสุกร
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: นารีรัตน์ สุขขี, สร้อยดาว วินิจนันทรัตน์, นริส ประทินทอง, พิสิฐพงษ์ อินทรพงษ์, สุพจน์ สิงห์โตศรี, อัจฉรีย์ มานะกิจ
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
Volume number: 16
Issue number: 24
นอก: 2428-252X
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
เปลือกมะพร้าวน้ำหอมและวัสดุรองพื้นสำหรับคอกสุกรเป็นของเสียที่เกิดขึ้นมากในจังหวัดราชบุรี ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการใช้เปลือกมะพร้าวน้ำหอม วัสดุรองพื้นคอกสุกร โดยนำเปลือกมะพร้าวน้ำหอมผสมวัสดุรองพื้นคอกสุกรในอัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก ซึ่งใช้แป้งข้าวโพดเป็นตัวประสาน ศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมี และทดสอบการปลูกกะเพราเป็นเวลา 30 วัน ผลการศึกษาพบว่า เปลือกมะพร้าวและวัสดุรองพื้นคอกสุกร มีค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจนเท่ากับ 74.42 และ 9.86 ตามลำดับ กระถางอินทรีย์สามารถปลดปล่อยแอมโมเนีย ไนเตรท ฟอสฟอรัส และแทนนินออกมาได้ เมื่อนำมาใช้ปลูกกะเพราเปรียบเทียบกับกระถางพลาสติก พบว่าการใช้วัสดุรองพื้นคอกสุกรเป็นกระถาง มีจำนวนต้นและความสูงเฉลี่ยสูงที่สุด ให้ผลที่ดีกว่าการใช้กระถางพลาสติก การใช้กระถางเปลือกมะพร้าวยังมีข้อจำกัด เนื่องจากมีการปลดปล่อยแทนนินออกจากกระถางและเกิดการสะสม ทำให้มีผลในทางลบต่อการเจริญของพืช กระถางอินทรีย์จากวัสดุรองพื้นคอกสุกรสามารถนำมาใช้เป็นกระถางพร้อมปลูกลงดิน ย่อยสลายได้ง่าย และมีธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของพืช
คำสำคัญ
Circular economy, เศรษฐกิจหมุนเวียน, Coconut husks, germination index, nursery pot, Waste utilization