การเพิ่มกำลังไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์ด้วยแผ่นสะท้อนรังสีระนาบร่วมกับระบบระบายความร้อนด้วยน้ำแบบควบคุมอุณหภูมิ

Conference proceedings article


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งจิราวัฒน์ จิรกิจอนุสรณ์ และ รุ่งโรจน์ สงค์ประกอบ

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2024


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์โดยใช้แผ่นสะท้อนรังสีที่มีผิวสะท้อนเป็นเทปอลูมิเนียมติดตั้งร่วมกับระบบระบายความร้อนด้วยน้ำที่ควบคุมการทำงานโดยชุดควบคุมอุณหภูมิ โดยวิเคราะห์แนวการสะท้อนรังสีแล้วคำนวณค่าพลังงานรังสีอาทิตย์ที่ตกกระทบหน้าแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อเลือกความยาวและมุมการติดตั้งที่เหมาะสม จากนั้นทำการทดลองติดตั้งแผ่นสะท้อนรังสีร่วมกับระบบระบายความร้อนที่ตั้งค่าอุณหภูมิการทำงานไว้ที่ 45°C, 55°C และ 65°Cแล้ววัดค่ากำลังไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์ จากผลการคำนวณได้เลือกแผ่นสะท้อนรังสีที่มีความยาว 1.2 เมตร ติดตั้งที่มุม 126° เมื่อทำการทดลองพบว่าการติดตั้งแผ่นสะท้อนรังสีจะทำให้สูญเสียกำลังการผลิตไฟฟ้าในช่วงเช้าและเย็น ซึ่งเกิดจาก Shading ของแผ่นสะท้อนรังสีที่พาดทับบนหน้าแผงโซลาร์เซลล์ ช่วงเวลาที่ไม่มี Shading นั้น แผงชุดทดสอบจะกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มากกว่าแผงชุดอ้างอิง เมื่อพิจารณาที่ความเข้มรังสีอาทิตย์ 900 W/m2 พบว่า การติดตั้งเฉพาะแผ่นสะท้อนรังสีเพิ่มค่ากำลังไฟฟ้าได้ 42% และการติดตั้งแผ่นสะท้อนรังสีร่วมกับระบบระบายความร้อนที่ 45°C, เพิ่มค่ากำลังไฟฟ้าได้ 50%  เมื่อพิจารณาที่ความเข้มรังสีอาทิตย์มากกว่า 900 W/m2 พบว่า การติดตั้งแผ่นสะท้อนรังสีร่วมกับระบบระบายความร้อน มีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่ากำลังไฟฟ้าที่มากกว่าการติดตั้งเฉพาะแผ่นสะท้อนรังสี


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-09 ถึง 12:00