ผลของการกระตุ้นจากสภาวะปราศจากออกซิเจนระยะสั้นต่อการสูญเสียน้ำหนักและรงควัตถุของมะเฟืองพันธุ์สีทอง
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Prakaidao Yingsanga;Supansa Kongpakdee;Chairat Techavuthiporn;Thanwalee Techavuthiporn;Pongphen Jitareerat;Lada Mathurasa
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
Volume number: 124
Issue number: 1
หน้าแรก: 116
หน้าสุดท้าย: 124
จำนวนหน้า: 9
นอก: 0857-0108
eISSN: 2651-2203
URL: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/260982
บทคัดย่อ
ภาวะปราศจากออกซิเจนระยะสั้นหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลสดทางการเกษตรเป็นการกระตุ้นให้พืชเกิดความเครียดซึ่งอาจมีผลต่อการควบคุมคุณภาพของผลิตผลสดหลังการเก็บเกี่ยวได้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาการให้สภาวะปราศจากออกซิเจนเป็นเวลา 0 (ชุดควบคุม) 12 24 และ 36 ชั่วโมงต่อการสูญเสียน้ำหนัก ปริมาณคลอโรฟิลล์ ปริมาณแคโรที-นอยด์ของมะเฟืองพันธุ์สีทอง โดยบันทึกข้อมูลการสูญเสียน้ำหนัก ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์บี และปริมาณแคโรที-นอยด์ หลังจากนั้นเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 60-70 แล้วบันทึกผลทุก ๆ 2 วัน เป็นระยะเวลา 8 วันหลังการเก็บรักษา ผลการทดลองพบว่าการให้สภาวะปราศจากออกซิเจนทุกชุดการทดลองช่วยชะลอการสูญเสียน้ำหนัก การสลายตัวของคลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์บี ซึ่งการให้สภาวะปราศจากออกซิเจนเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมงมีแนวโน้มชะลอการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ดีที่สุด รองลงมาคือระยะเวลา 36 ชั่วโมง 12 ชั่วโมง และชุดควบคุมตามลำดับ โดยชุดการทดลองการให้สภาวะปราศจากออกซิเจน และชุดควบคุมไม่มีความแตกต่างในวันที่ 8 ของการเก็บรักษา ปริมาณแคโรทีนอยด์ในทุกชุดการทดลองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุดควบคุม รองลงมาคือชุดการทดลองที่ผ่านสภาวะปราศจากออกซิเจนเป็นระยะเวลา 24 36 และ 12 ชั่วโมงตามลำดับ ดังนั้นการให้สภาวะปราศจากออกซิเจนในระยะเวลาที่เหมาะสมมีแนวโน้มช่วยคงคุณภาพมะเฟืองพันธุ์สีทองหลังการเก็บเกี่ยวได้
คำสำคัญ
anoxia, carambola, carotenoid, chlorophyll, star fruit