การศึกษาสถานการณ์และความคาดหวังในอนาคตด้านสมรรถนะแรงงานที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีของสถานประกอบการ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Prachya Peasura;Nutthanun Moolsradoo;Suthiphong Sopha;Phonsak Lerthiranphanya;Peerapong Kasuriya
ผู้เผยแพร่: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
Volume number: 87
Issue number: 2
หน้าแรก: 73
หน้าสุดท้าย: 87
จำนวนหน้า: 15
นอก: 1685-3954
eISSN: 2651-0596
URL: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/255239
บทคัดย่อ
การศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันและความคาดหวังอนาคตด้านสมรรถนะแรงงานที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีของสถานประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ วิเคราะห์ช่องว่างระหว่างสมรรถนะแรงงานที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีปัจจุบันและสมรรถนะแรงงานจบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่สถานประกอบการคาดหวัง การเก็บข้อมูล โดยแบบสอบถามจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในลำดับที่ 1 และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในลำดับที่ 2 จำนวน 80 คน จาก 20 สถานประกอบการ ได้แก่ ตำแหน่งผู้บริหารระดับหัวหน้าแผนกขึ้นไป วิศวกร และพนักงาน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป โดยเป็นสถานประกอบการที่มีการลงนามความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยการเลือกแบบเจาะจง ผลวิจัยพบว่าสมรรถนะแรงงานที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ของสถานประกอบการในปัจจุบัน ด้านความรู้ในการปฏิบัติงานของตนเอง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 3.720 ด้านทักษะมีทักษะการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 3.800 และด้านคุณลักษณะ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 4.080 ผลการวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างสมรรถนะแรงงานที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีของสถานประกอบการในปัจจุบันและความคาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะแรงงานที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในอนาคต พบว่ามีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน โดยด้านคุณลักษณะ มีค่าเฉลี่ยความคาดหวังมากที่สุด เท่ากับ 4.440 รองลงมาด้านทักษะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.160 และด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.972 ตามลำดับ
คำสำคัญ
การวิเคราะห์ช่องว่าง, ความคาดหวังอนาคต, สถานการณ์ปัจจุบัน, สมรรถนะแรงงาน, อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์