การศึกษาคุณลักษณะการเผาไหม้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวบนหัวเผาช่องสี่เหลี่ยม Wolfhard Parker
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: สำเริง จักรใจ, อมรรัตน์ แก้วประดับ
รายการของผู้เผยแพร่: https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/tjme/about/editorialTeam
ผู้เผยแพร่: สมาคมวิศวกรเครื่องกลไทย
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
ชื่อย่อของวารสาร: TJME
Volume number: 1
Issue number: 2
หน้าแรก: 1
หน้าสุดท้าย: 11
จำนวนหน้า: 11
URL: https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/tjme/index
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณลักษณะการเผาไหม้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวบนหัวเผาช่องสี่เหลี่ยม Wolfhard Parker ซึ่งเป็นต้นแบบหัวเผาที่มีการใช้งานในอุตสาหกรรม หัวเผาแบบช่องสี่เหลี่ยมแบบ Wolfhard Parker มีการใช้งานในการเผาไหม้แบบไม่ผสมมาก่อนโดยสามารถให้ความร้อนสม่ำเสมอและมีความปลอดภัยต่อการใช้งานจากการเกิดเปลวไฟย้อนกลับได้ อย่างไรก็ตามการเผาไหม้แบบไม่ผสมมาก่อนส่งผลต่อคุณลักษณะการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ รวมถึงองค์ประกอบที่แตกต่างกันของเชื้อเพลิงและอัตราส่วนสมมูลเป็นปัจจัยที่มีผลต่ออัตราส่วนอากาศที่ใช้และประสิทธิภาพการเผาไหม้ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาคุณลักษณะการเผาไหม้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวบนหัวเผาช่องสี่เหลี่ยม Wolfhard Parker จากอิทธิพลขององค์ประกอบก๊าซปิโตรเลียมเหลว ได้แก่ ก๊าซโพรเพนและก๊าซบิวเทน ที่อัตราส่วน 70:30, 60:40 และ 40:60 อิทธิพลของอัตราความร้อนป้อน 2.0-4.0 kW และอิทธิพลของอัตราส่วนสมมูลที่ 1.00-2.00 ผลการศึกษาพบว่าที่อัตราส่วนสมมูล1.00 หรืออัตราความร้อนป้อน 2.0 kW ที่องค์ประกอบ 70:30 มีอัตราส่วนความยาวเปลวไฟสีน้ำเงินสูงที่สุดและมีอุณหภูมิเปลวไฟสูงสุด (940°C) ที่องค์ประกอบ 60:40 พบว่ามีช่วงการติดไฟเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีปริมาณก๊าซคาร์บอนโมโนออกไซด์ต่ำสุดที่องค์ประกอบ 40:60 จากผลการศึกษาการเผาไหม้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวบนหัวเผาช่องสี่เหลี่ยม Wolfhard Parker องค์ประกอบก๊าซปิโตรเลียมเหลว อัตราส่วนสมมูล และอัตราความร้อนป้อน มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิเปลวไฟ อัตราส่วนความยาวเปลวไฟสีน้ำเงิน ช่วงการติดไฟ ปริมาณก๊าซคาร์บอนโมโนออกไซด์ แต่มีอิทธิพลน้อยต่อปริมาณออกไซต์ของไนโตรเจน
คำสำคัญ
Flammability limit