การพัฒนาระบบเก็บเกี่ยวน้ำหวานจากดอกมะพร้าวแบบลอยฟ้า

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งอิศรทัต พึ่งอ้น, ธิติมา วงษ์ชีรี, จีระพันธ์ เนื่องจากนิล, พิสิฐพงษ์ อินทรพงษ์, ทองไส ช่วยชู, สารภี ยวดยง

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2023

Volume number7

Issue number15

หน้าแรก14

หน้าสุดท้าย17

จำนวนหน้า4

นอก24654493

URLhttps://istrs.kmutt.ac.th/www/public/images/ejournals/pdf/ejournals-pdf-1798018702596478.pdf

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

ระบบเก็บเกี่ยวนํ้าหวานจากดอกมะพร้าวแบบลอยฟ้า ผ่านการทํางานแบบบูรณา
การกับสถานประกอบการและสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ และผู้ประกอบการในพื้นที่ ทําให้
ได้ผลงานต้นแบบที่มีการขยายผลติดตั้งและทดสอบระบบที่ ไร่มะพร้าว บริษัทชีวาดี โปรดักส์
จํากัด อําเภอดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ประกอบด้วย พะองเหล็กแบบถอดประกอบและ
พับเก็บได้ แท่นยืนทํางานบนที่สูงแบบหมุนได้รอบ (Coconut และทางเดินลอยฟ้าระหว่างต้น
(skywalk) โดยคํานวณความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์การใช้อุปกรณ์ตานแบบนี้มีจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 4.5 ปี                      อ้างอิงข้อมูลเบื้องต้นที่การเก็บเกี่ยวนํ้าดอกมะพร้าว 1,000 ต้น ระยะเวลาการลงทุนเพื่อทดแทนพะองไม้                        ทุก 2 ปี ที่มูลค่า 300,000 บาท การพัฒนาระบบเก็บเกี่ยวครั้งนี้ สอดคล้องกับแผนงานของโครงการ ในการพัฒนา
เกษตรแม่นยําสูงและเกษตรอัจฉริยะ ช่วยเปลี่ยนโฉมหน้า การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะพร้าวตาลและตาลโตนด                     ให้สมาร์ทและปลอดภัยขึ้น ลดจํานวนแรงงาน และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ในระยะยาว                                ความปลอดภัยของระบบและอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นยังสอดคล้องกับการผลิตที่คํานึงถึงสวัสดิภาพของแรงงาน (Labor Welfare) ซึ่งนานาประเทศให้ความสําคัญส่งผลต่อความยั่งยืนในการส่งออกผลผลิตและผลิตภัณฑ์ในระยะยาว เป็นการอนุรักษ์อาชีพที่ใช้ภูมิปัญญาและส่งเสริมให้เกิดเกษตรกรรุ่นใหม่ สืบทอดอาชีพการทําตาลใหคงอยู่กับสังคมไทย


คำสำคัญ

coconut nectarcoconut organic farm


อัพเดทล่าสุด 2024-19-11 ถึง 00:00