การประยุกต์วิธีเพิ่มอุณหภูมิแบบขั้นบันไดเพื่อประมาณความเครียดคงค้างของตาข่ายเสริมกำลังพอลิโพรพิลีนเมื่อรับแรงดึงวัฏจักรในระยะยาว

บทความในวารสาร


ผู้เขียน/บรรณาธิการ


กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์


รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์

รายชื่อผู้แต่งวรกมล บัวแสงจันทร์ และ วรัช ก้องกิจกุล

ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.)2025

Volume number35

Issue number1

หน้าแรก1

หน้าสุดท้าย15

จำนวนหน้า15

URLhttps://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/259479

ภาษาThai (TH)


บทคัดย่อ

โครงสร้างดินเสริมกำลังด้วยวัสดุเสริมกำลังสังเคราะห์มักต้องรองรับแรงวัฏจักรในระหว่างการใช้งาน เช่น น้ำหนักจราจร ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดึงวัฏจักรกระทำต่อวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์ แรงดึงวัฏจักรนี้ทำให้เกิดความเครียดคงค้างในวัสดุเสริมกำลังซึ่งอาจส่งผลต่อการเสียรูปโดยองค์รวมของโครงสร้างดินเสริมกำลังที่มากเกินไป งานวิจัยนี้สนใจศึกษาการเกิดความเครียดคงค้างระยะยาวในตาข่ายเสริมกำลังชนิดพอลิโพรพิลีนเมื่อรับแรงดึงวัฏจักรที่มีระดับแรงกระทำสูงสุด แอมพลิจูดและความถี่แตกต่างกัน โดยใช้การเพิ่มอุณหภูมิแวดล้อมแบบขั้นบันไดจาก 30 ถึง 50 องศาเซลเซียส และใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงต่อระดับอุณหภูมิเพื่อร่นระยะเวลาการทดสอบ ผลการทดสอบนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดคงค้างกับจำนวนรอบที่อุณหภูมิอ้างอิง (30 องศาเซลเซียส) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงกระทำสูงสุด แอมพลิจูดและความถี่ต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดคงค้างเมื่อรับแรงดึงวัฏจักรมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อระดับแรงกระทำสูงสุดเพิ่มขึ้น แต่จะมีค่าลดลงเมื่อแอมพลิจูดเพิ่มขึ้น ในขณะที่อิทธิพลของความถี่ไม่มีนัยสำคัญซึ่งกล่าวได้ว่า ความเครียดคงค้างเมื่อรับแรงดึงวัฏจักรนั้นเกิดจากสมบัติที่ขึ้นกับอัตราความเครียดของตาข่ายเสริมกำลังเป็นหลัก ในขณะที่อิทธิพลของแรงดึงวัฏจักรที่ไม่ขึ้นกับอัตราความเครียดนั้นไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง


คำสำคัญ

ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด 2024-11-12 ถึง 12:00