การประเมินผลกระทบทางสังคมจากโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล: กรณีศึกษา พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
บทความในวารสาร
ผู้เขียน/บรรณาธิการ
กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์
รายละเอียดสำหรับงานพิมพ์
รายชื่อผู้แต่ง: Watcharapong Hanumas and Ittisak Jirapornvaree
ผู้เผยแพร่: Graduate School of Environmental Development Administration
ปีที่เผยแพร่ (ค.ศ.): 2024
Volume number: 20
Issue number: 2
หน้าแรก: 122
หน้าสุดท้าย: 141
จำนวนหน้า: 20
นอก: 3056-9486
URL: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/269774
ภาษา: Thai (TH)
บทคัดย่อ
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอันเนื่องมาจากปัจจัยทางธรรมชาติ และกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 มาตรการ คือ มาตรการสีเขียว สีขาว และสีเทา ดังนั้นการศึกษานี้มุ่งเน้นในการประเมินผลกระทบทางสังคมจากโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล กรณีศึกษา พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 76 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ด้วยวิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ ครอบคลุม 4 มิติ คือ มิติด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน มิติด้านโครงสร้างพื้นฐาน มิติด้านสังคม และมิติด้านวิถีชีวิต ผลการศึกษาพบว่า มิติด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีระดับผลกระทบที่สูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 3.59 มีระดับผลกระทบในระดับมาก ในทางกลับกันมิติด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีระดับผลกระทบที่น้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 2.79 มีระดับผลกระทบในระดับปานกลาง มากไปกว่านั้นการทดสอบความต่างของค่าเฉลี่ยของอาชีพที่มีระดับความห่วงกังวลต่อผลกระทบทางสังคมในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านวิถีชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อค้นพบในครั้งนี้การสนับสนุนแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรูปแบบผสมผสาน โดยการปรับสมดุลชายฝั่งโดยธรรมชาติ (Coastal Equilibrium by Natural Processes) ตามมาตรการสีขาว (White Measure) ในการกำหนดพื้นที่กันชนให้มีระยะห่างระดับหนึ่งจากทะเล กำหนดการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับอัตราการกัดเซาะชายฝั่ง คู่ขนานไปกับ มาตรการสีเทา (Gray Measure) โดยใช้การใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเดิมที่ได้มีการดำเนินการแล้วเสร็จสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) ในเป้าหมายที่ 14
คำสำคัญ
Coastal erosion, End Effect Area, Maharat Beach, Seawall, Social Impact Assessment